กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงสุขกาย ผู้ดูแลสุขใจ ตำบลตะลุโบะ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3011-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ.
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสีเตาะ นิมาปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ภาวะสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตและไขมันในเลือดสูงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ขาดการดูแลสุขภาพที่ดี ขาดการรักษาและการรับประทานยาส่งผลให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ กลายเป็นผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต พิการ ติดบ้านติดเตียง อีกทั้งปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุและกำลังย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยสูงอายุที่ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคเรื้อรังและมีหลายโรคร่วมส่งผลให้แนวโน้มผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น จากการแบ่งประเภทผู้สูงอายุตามเกณฑ์ สปสช. การประเมินกิจวัตรประจำวันด้วยแบบประเมิน Bathel ADL และ แบบประเมินภาวะพึ่งพิง TAI (Typology of Aged with Illustration) ได้แก่ กลุ่ม ๑ ติดบ้าน (B3) กลุ่ม ๒ ติด บ้าน (C2,C3,C4) กลุ่ม ๓ ติดเตียง (I3) กลุ่ม ๔ ติดเตียง (I1,I2) โดยผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดเตียง และผู้พิการจำเป็นต้องมีการดูแล ระยะยาว(Long term care) เนื่องจากมีภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องมีคนดูแล บางคนต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ บางรายอาจมีแผลกดทับร่วมด้วย บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุโรค เรื้อรังติดเตียงทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ การส่งเสริมศักยภาพหรือสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล เป็นการดูแล ต่อเนื่องโดยครอบครัว(Family care) ซึ่งในการดูแลระยะยาวผู้พิการผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดบ้านติดเตียงผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการดูแลผู้ป่วย การควบคุมโรค และการฟื้นฟูที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อาหาร การใช้ยาและติดตามผลตรวจตามนัด การทำกายภาพเบื้องต้นรวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง การจัดการอาการที่พบบ่อย การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ หากผู้ดูแลมีความรู้และปฏิบัติได้อย่างมีสมรรถนะแห่งตนจะทำให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา และจะลดภาระระบบบริการสุขภาพจากบุคลากรทางสุขภาพอีกทั้งผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตะลุโบะมีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 34 คนซึ่งคนกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันและต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง จากการสอบถามปัญหาของผู้ดูแล พบว่า บางคนไม่มีทักษะในการดูแลเบื้องต้น บางคนต้องดูแลคนเดียว บางคนเหนื่อย เครียดที่เผชิญปัญหาและอารมณ์ของผู้ป่วย เป็นต้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ จึงมีการจัดการให้ความรู้และทักษะปฏิบัติที่จำเป็นและการจัดการความเครียดในการดูแลระยะยาว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมากกว่าร้อยละ 70

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่อง มากกว่าร้อยละ 80

0.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 30

0.00 0.00
4 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีสุขภาพจิตที่ดี

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผลคะเเนนการประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 น้อยกว่า 4 คะแนน มากกว่า    ร้อยละ 80

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,080.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเบื้องต้น 0 13,840.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 ก่อน-หลังอบรม ส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลและการจัดการความเครียด 0 240.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมเยี่ยมบ้านคัดกรองและประเมินสุขภาพกายและจิต ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้ดูแล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจากหน่วยบริการภาครัฐ
  2. ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีศักยภาพในการดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
  3. ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงต่อเนื่องในชุมชน
  4. ลดอัตราการครองเตียงของผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 15:12 น.