กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงสุขกาย ผู้ดูแลสุขใจ ตำบลตะลุโบะ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ.

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ภาวะสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตและไขมันในเลือดสูงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ขาดการดูแลสุขภาพที่ดี ขาดการรักษาและการรับประทานยาส่งผลให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ กลายเป็นผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต พิการ ติดบ้านติดเตียง อีกทั้งปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุและกำลังย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยสูงอายุที่ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคเรื้อรังและมีหลายโรคร่วมส่งผลให้แนวโน้มผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น จากการแบ่งประเภทผู้สูงอายุตามเกณฑ์ สปสช. การประเมินกิจวัตรประจำวันด้วยแบบประเมิน Bathel ADL และ แบบประเมินภาวะพึ่งพิง TAI (Typology of Aged with Illustration) ได้แก่ กลุ่ม ๑ ติดบ้าน (B3) กลุ่ม ๒ ติด บ้าน (C2,C3,C4) กลุ่ม ๓ ติดเตียง (I3) กลุ่ม ๔ ติดเตียง (I1,I2) โดยผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดเตียง และผู้พิการจำเป็นต้องมีการดูแล ระยะยาว(Long term care) เนื่องจากมีภาวะพึ่งพิงจำเป็นต้องมีคนดูแล บางคนต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ บางรายอาจมีแผลกดทับร่วมด้วย บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุโรค เรื้อรังติดเตียงทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ การส่งเสริมศักยภาพหรือสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล เป็นการดูแล ต่อเนื่องโดยครอบครัว(Family care) ซึ่งในการดูแลระยะยาวผู้พิการผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดบ้านติดเตียงผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการดูแลผู้ป่วย การควบคุมโรค และการฟื้นฟูที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อาหาร การใช้ยาและติดตามผลตรวจตามนัด การทำกายภาพเบื้องต้นรวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง การจัดการอาการที่พบบ่อย การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ หากผู้ดูแลมีความรู้และปฏิบัติได้อย่างมีสมรรถนะแห่งตนจะทำให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา และจะลดภาระระบบบริการสุขภาพจากบุคลากรทางสุขภาพอีกทั้งผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตะลุโบะมีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง จำนวน 34 คนซึ่งคนกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันและต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง จากการสอบถามปัญหาของผู้ดูแล พบว่า บางคนไม่มีทักษะในการดูแลเบื้องต้น บางคนต้องดูแลคนเดียว บางคนเหนื่อย เครียดที่เผชิญปัญหาและอารมณ์ของผู้ป่วย เป็นต้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ จึงมีการจัดการให้ความรู้และทักษะปฏิบัติที่จำเป็นและการจัดการความเครียดในการดูแลระยะยาว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมากกว่าร้อยละ 70

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่อง มากกว่าร้อยละ 80

0.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 30

0.00 0.00
4 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีสุขภาพจิตที่ดี

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผลคะเเนนการประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 น้อยกว่า 4 คะแนน มากกว่า    ร้อยละ 80

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเบื้องต้นจำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเบื้องต้นจำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมชุดละ 2 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 120 บาท
- คู่มือการอบรม 60 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าแบบประเมินความพึงพอใจโครงการชุดละ 2 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 120 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน900 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องเขียน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน60 คน(พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 70 คน คนละ50.-บาท จำนวน1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คน (พร้อมผู้จัดอบรม 10 คน) รวม 70 คน คนละ35.-บาทจำนวน2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 4,900-บาท รวมเป็นเงิน 13,840.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13840.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 ก่อน-หลังอบรม ส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลและการจัดการความเครียด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 ก่อน-หลังอบรม ส่งเสริมสุขภาพจิตและจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลและการจัดการความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าแบบฟอร์มการประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินความเครียด ST-5 ก่อน-หลัง จำนวน 60 คน
ชุดละ 2 บาทจำนวน 120 ชุด รวมเป็นเงิน 240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีสุขภาพจิตที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมบ้านคัดกรองและประเมินสุขภาพกายและจิต ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้านคัดกรองและประเมินสุขภาพกายและจิต ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านดูแลอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจากหน่วยบริการภาครัฐ
2. ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง มีศักยภาพในการดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง
3. ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงต่อเนื่องในชุมชน
4. ลดอัตราการครองเตียงของผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง


>