กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ขยับกายสบายชีวี ด้วยปันจักสีลัต ตำบลตะลุโบะ ประจำปี2567
รหัสโครงการ 67-L3011-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 70,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัยนับ กาเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ประชาชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจ สังคม สติปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกาย คือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอซึ่งจากนโยบายสร้าง นำ ซ่อม ของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุข โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ปัจจุบันสถิติการออกกำลังกายของเด็กและวัยรุ่นตำบลตะลุโบะ อายุ 5-17 ปีที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 70 และสถิติการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 40 การออกกำลังกายด้วยกีฬา “สีลัต” หรือเรียกชื่อเต็มคือ “ปันจักสีลัต” (Penjak Silat) เป็นภาษามลายู “ปันจัก” แปลว่า ป้องกันตัว ส่วน “สีลัต” แปลว่า ศิลปะ แปลได้ตรงตัวคือ ศิลปะการป้องกันตัวแบบมลายู นิยมเรียกย่อๆ ว่า “สีลัต”เป็นทั้งการต่อสู้ การละเล่น การแสดงในแหลมมลายูตั้งแต่โบราณปัจจุบันถูกบรรจุให้เป็นกีฬาสากล มีการแข่งขันกันในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล นอกเหนือจากเป็นศิลปะป้องกันตัว การฝึกสีลัตยังมีประโยชน์ทางสุขภาวะทั้งทางตรงและทางอ้อมช่วยให้เด็กได้ออกกำลังกายมีพัฒนาการกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่ดี สามารถฝึกสมาธิและยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะลุโบะจึงได้จัดทำโครงการขยับกาย สบายชีวี ด้วยกีฬาปันจักสีลัต ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตะลุโบะ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

0.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

ร้อยละ 50 ของพื้นที่สาธารณะมีการใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย

0.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 70,850.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 การอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วยกีฬาปันจักสีลัต 0 3,400.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 การฝึกออกกำลังกายด้วยกีฬาปันจักสีลัต 0 67,450.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
  2. เด็กและเยาวชนให้ความสนใจในการออกกำลังกายมากขึ้น
  3. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 13:36 น.