โครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L6895-01-19 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 26 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 9,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.41,99.519place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลสถานการณ์ด้านระบาดวิทยาจังหวัดตรัง ประจำปี 2566 (1 ม.ค.-21 พ.ค.2566) พบว่ามีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 393.60 ต่อแสนประชากรสูงเป็นอันดับแรกไม่พบอัตราการตาย และในในอำเภอกันตังพบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 4.62 ต่อแสนประชากร
โรคอุจจาระร่วงมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของอาหารจากเชื้อโรคจนทำให้เกิดการเจ็บป่วย
ซึ่งการปนเปื้อนของอาหารนี้มักเกิดจากพฤติกรรมอนามัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะของผู้เตรียม ปรุง ประกอบในระหว่างการเตรียมปรุงอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมอนามัยของผู้บริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ไม่ใช้ช้อนกลาง เป็นต้น
การเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร จึงมีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามสถานการณ์ และทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของอาหาร และนำไปสู่การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อได้ เทศบาลเมืองกันตังจึงจัดโครงการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาดและสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาด ต้องชมถนนคนเดินกันตัง
|
||
2 | . เฝ้าระวังคุณภาพอาหารตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร(19 มิ.ย. 2567-19 มิ.ย. 2567) | 8,100.00 | |||||
รวม | 8,100.00 |
1 กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 100 | 8,100.00 | 1 | 6,190.00 | 1,910.00 | |
19 มิ.ย. 67 | กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร | 100 | 8,100.00 | ✔ | 6,190.00 | 1,910.00 | |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 1,100.00 | 1 | 450.00 | 650.00 | |
20 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 | กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร | 0 | 1,100.00 | ✔ | 450.00 | 650.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 100 | 9,200.00 | 2 | 6,640.00 | 2,560.00 |
- ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.3 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ อุปกรณ์สำหรับจัดทำบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร เป็นต้น
- ขั้นดำเนินการ
2.1 กิจกรรมอบรมสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารให้แก่
ผู้จำหน่ายอาหารบริเวณหน้าโรงเรียนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 1 ครั้ง โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้
- หลักการสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย และมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร (ทฤษฎี 60 นาที)
- สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร (ทฤษฎี 30 นาที)
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร (ทฤษฎี 60 นาที)
- การใช้กัญชาหรือกัญชงในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารที่ปลอดภัย (ทฤษฎี 30 นาที) - การสาธิตและฝึกปฏิบัติ (60 นาที) 2.2 กิจกรรมตรวจสุขลักษณะแผงลอยจำหน่ายอาหารและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร
- วางแผนลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหาร - ตรวจสุขลักษณะแผงลอยจำหน่ายอาหารและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร/แปลผลการตรวจ - แจ้งผลการตรวจให้ผู้ประกอบการทราบ
- ให้ความรู้/คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่เกิดจากน้ำและอาหารเป็นสื่อ - ขั้นประเมินผลการดำเนินการ 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขลักษณะตลาดและสุขาภิบาลอาหาร รวมทั้งประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 13:25 น.