กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ผลการดำเนินงาน
จากการที่ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้าง    ในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ตำบลปันแต ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกร    กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด        ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษา เนื่องจาก ตำบลปันแต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา    พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูงในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ จากการเจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๒.๕๐ ปลอดภัย ร้อยละ ๕๐.๘๓ เสี่ยงร้อยละ ๓๕.๐๐ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๑๑.๖๗ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปลอดภัย ร้อยละ ๓๑.๔๓ เสี่ยง ร้อยละ ๕๔.๒๙ ไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๑๔.๒๘ ต่อมา ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จากการเจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ ๕.๙๓ ปลอดภัย ร้อยละ ๖๑.๒๖ เสี่ยง ร้อยละ ๒๕.๖๙ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๗.๑๒ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปลอดภัย ร้อยละ ๒๘.๑๒ เสี่ยง ร้อยละ ๓๑.๒๕ ไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๔๐.๖๓ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เกษตรกรในเขตตำบลปันแต ที่มีสารเคมีในเลือดในระดับที่เสี่ยง และไม่ปลอดภัย เจาะเลือดครั้งที่ ๒ ยังคงมีสารเคมีในเลือดสูงอยู่ ซึ่งผลจาการดำเนินการตามวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้         ๑. เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๕.๑๑ มีผลดังนี้   ๑.๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปลอดภัย ร้อยละ ๘๘.๕๘ เสี่ยง ร้อยละ ๕.๗๑ และไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๕.๗๑   ๑.๒ กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า เสี่ยง ร้อยละ ๑๐๐
๒.เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกราย โดยได้ทำการคัดกรองตามแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการใช้สารเคมีของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังให้ความรู้โดยใช้สื่อจากแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี และแผ่นพับการใช้สมุนไพรล้างพิษ เจาะจงเป็นรายบุคคล ผู้ที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตจะจ่ายยาผงรางจืดชงรับประทาน ๑ เดือน แล้วนัดมาเจาะเลือดซ้ำครั้งที่ ๒ เพื่อเฝ้าระวังต่อไป ๓.เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือด เกณฑ์ปกติและปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เดิมร้อยละ ๖๗.๑๙ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ร้อยละ ๘๘.๕๘
2.ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพราะ....................................................................... 3.การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 3,270  บาท ดังนี้ ๑. ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ๓ ชุด ชุดละ ๙๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๘๕๐ บาท ๒. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 140 ชุด เป็นเงิน 140 บาท ๓. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 140 ชุด        เป็นเงิน 140 บาท ๔. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับการใช้สมุนไพรล้างพิษ หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 140 ชุด    เป็นเงิน 140 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง  3,270  บาทคิดเป็นร้อยละ 100 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ............. .-........................บาท คิดเป็นร้อยละ- 4.ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน  ไม่มี มี ปัญหา/อุปสรรค(ระบุ) ๑.ข้อมูลเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงยังไม่ชัดเจน บางคนเลิกใช้ไปแล้ว บางคนใช้เฉพาะยาฆ่าวัชพืช            ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน ๒.เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงไม่มารับบริการเจาะเลือดในวันเวลาที่นัดหมาย ทำให้ต้องนัดหลายครั้ง แนวทางแก้ไข(ระบุ) ๑.ให้บริการเจาะเลือดในหมู่บ้านร่วมกับคัดกรองโรคเบาหวานลดความเจ็บปวดจากการเจาะเลือด และให้ความสะดวกกับผู้มารับบริการ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๐
ตัวชี้วัด : เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๐

 

2 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๘๐
ตัวชี้วัด : เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๘๐

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 138
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 138
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๐ (2) เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๘๐

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh