กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ดำเนินการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรควันที่ 0,3,7 จำนวน 15 เคส 1 ก.ค. 2567 1 ก.ค. 2567

 

1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรับแจ้งรายงานเคสผู้ป่วยไข้เลือดออกจากรพ./สสอ.กงหรา
2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อหาแหล่งรังรัง/ยืนยันข้อมูลกับผู้ป่วย
3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งรายงานเคสไข้เลือดออกในไลน์กลุ่มอสม.และนัดคนพ่นยุงและอสม.ลงพื้นที่ในการพ่นยุงให้ทันเวลาภายใน 24 ชม.หลังได้รับรายงานเคสผู้ป่วยจากรพ.
4.ทีมควบคุมโรคลงพื้นที่พ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ พร้อมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายที่บ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 ม. จำนวน 3 ครั้ง ในวันที่ 0,3,7

 

1.ทีมควบคุมโรคลงพื้นที่เพื่อพ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ จำนวน 15 เคส จำแนกรายพื้นที่ ดังนี้
-หมู่ที่ 4 บ้านท่ายาง 3 เคส
-หมู่ที่ 5 บ้านชะรัด 2 เคส
-หมู่ที่ 6 บ้านนามะพร้าว 1 เคส
-หมู่ที่ 7 บ้านควนขี้แรด 1 เคส
-หมู่ที่ 8 บ้านหูเล่ 2 เคส
-หมู่ที่ 9 บ้านสะพานแต้ว 6 เคส

 

วางแผนการควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานการที่เกิดการระบาดร่วมกับภาคีเครือข่าย 29 ก.ค. 2567 29 ก.ค. 2567

 

1.จนท.สาธารณสุขรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 4-9 ตำบลชะรัด
2.ร่วมกันเสนอแนวทางควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.ปิดการประชุม

 

1.มีการประชุมร่วมกันวางแผนควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,ผู้นำชุมชน ,อสม.,เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลชะรัดและตัวแทนประชาชน
2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ชี้แจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 4-9 ต.ชะรัด ข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มค.67- 29 กค.67 จำนวน 18 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 361 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากตอนนี้เป็นช่วงระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านชะรัด จึงเขียนโครงการเพื่อของบฉุกเฉินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด จำนวน 7,500 บาท เพื่อนำมาเป็นค่าจ้างคนพ่นเคมีกำจัดยุง จำนวน 15 เคสๆละ 500 บาท โดยจะมีการพ่นยุงเคสละ 3 ครั้ง ในวันที่่ 0,3,7