กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ส่วนที่ 3 : แบบรายงานผลการดำเนินโครงการเพื่อสุขภาพที่ดีมาขยับแข้ง ขยับขา กับพวกเราบาสโลบยามเย็นบ้านจีน ปี 2 เทศบาลตำบลฉลุง ประจำปีงบประมาณ 2568 (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ)

  1. ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จำนวน 25 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 112 1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการเต้นบาสโลบมาปรับใช้ในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

    การเต้นจังหวะบาสโลบ(Paslop) เป็นของประเทศลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส เนื่องจากในอดีต สปป.ลาว เป็นเมืองในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศสมาก่อน จึงยังคงหลงเหลือวัฒนธรรมบางอย่างจากฝรั่งเศสให้เห็นอยู่ คนลาวนิยมเต้นเวลาออกงานสังคม เช่นงานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน รวมไปถึงงานเลี้ยงรับรองที่เป็นทางการ ใช้ต้อนรับแขกระดับประเทศที่สำคัญๆ เวลาเต้นจะตั้งเป็นแถวหน้ากระดานหรือเป็นแถวตอน หากมีผู้เต้นจำนวนหลายๆคน มีหนึ่งแถวหรือมากกว่าก็ได้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือทุกคนจะเต้นเป็นจังหวะอย่างพร้อมเพรียงกัน ขยับไปซ้ายที ขวาที มีการแตะเท้าเป็นจังหวะตามเพลง หมุนวนไปทั้ง 4 ทิศ และด้วยลักษณะการเต้นที่มีการโยกย้ายร่างกายทุกส่วนเช่นนี้ ดูมีเสน่ห์และสวยงามมาก ในโอกาสที่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านรวม10ประเทศ จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในเดือนธันวาคม 2558 เราต้องศึกษาประเพณีวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านให้เข้าใจ เมื่อเรามีโอกาสประสานสัมพันธ์เข้ากับสังคมของประเทศต่าง ๆ ได้อย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งจะเกิดผลดีต่อหน้าที่การงานและความสัมพันธ์ระหว่างกัน สำหรับประเทศลาวมีประเพณี วัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่งกาย การละเล่น การนับถือศาสนา อาหาร ต่อมาเมื่อบาสโลบได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย จึงได้มีการพัฒนาดัดแปลงโดยใช้ท่าแอโรบิค ลีลาศ มวยไทย ใช้ท่าฟ้อนของภาคเหนือ รำซิ่งของอีสาน หรือแม้กระทั่งการนำท่ารำมโนห์ราของภาคใต้เข้ามาประยุกต์ เป็นท่าเต้น

    ประโยชน์ของการเต้นบาสโลบ
    การเต้นบาสโลบออกกำลังกาย ดีอย่างไร ทำให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อขยับร่างกายไปตามจังหวะเสียงเพลงยังช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดหรืออักเสบของข้อต่อได้ มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก การเต้นคล้ายๆ แอโรบิค หรือการเต้นที่ได้ขยับทุกส่วนในร่างกายอย่างการเต้นบาสโลบก็มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้เช่นกัน การเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุ เพราะการออกกำลังกายในผู้สูงวัยไม่เหมือนกับคนวัยอื่นๆ ด้วยสุขภาพและสรีระร่างกายที่ไม่ได้คล่องแคล่วเหมือนเมื่อก่อน ทั้งยังต้องคำนึงถึงการออกกำลังกายให้ถูกหลักต้องระมัดระวังในเรื่องการหกล้มหรืออาการบาดเจ็บมากกว่าคนวัยอื่น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใส่ใจและการเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมมากๆ และการเต้นบาสโลบ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับออกกำลังกายมากขึ้นในวัยผู้สูงอายุ เพราะ  การเต้นประเภทนี้ เป็นการขยับร่างกายอย่างช้า ๆ ตามจังหวะเสียงเพลงอย่างเพลิดเพลินที่ทั้งสนุกและได้ประโยชน์ สุขภาพสมองดีขึ้น เพราะการออกกำลังกายด้วยการเต้นต้องใช้สมองในการจดจำท่าเต้น มีผลต่อการกระตุ้นความจำ ทั้งยังป้องกันความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ การเต้นบาสโลบก็มีท่าทางรวมถึงการนับจังหวะให้ได้จดจำจึงถือเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองไปในตัว ทำให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อขยับร่างกายไปตามจังหวะเสียงเพลงยังช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดหรืออักเสบของข้อต่อได้ มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก การเต้นคล้าย ๆ แอโรบิค หรือการเต้นที่ได้ขยับทุกส่วนในร่างกายอย่างการเต้นบาสโลบก็มีส่วนช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เช่นกัน เต้นลดความเครียด มีงานวิจัยว่าการออกกำลังกายด้วยการเต้นพร้อมกับจังหวะเสียงเพลงนั้นจะช่วยลดความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ ดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะยิ่งขยับร่างกายเร็วจะยิ่งทำให้หัวใจได้ออกกำลังให้แข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

    ข้อดีของการเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุ
      การเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุได้ประโยชน์มากมายดังนี้ *ออกกำลังกายได้ทุกส่วน การเต้นบาสโลบ จะได้ออกสเต็ปตามจังหวะเพลงในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งแขน ขา เอว สะโพก และเท้า *ระหว่างการเต้นร่างกายจะหลั่งสารบางอย่างที่ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น *การเต้นบาสโลบช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้รู้สึกสนุกสนานและอารมณ์ดีอีกด้วย *ลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บน้อยกว่าการออกกำลังกายรูปแบบอื่น *ช่วยเรื่องการทรงตัวและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ *ฝึกสมอง ฝึกสมาธิ เพราะการเต้นไปตามจังหวะเพลงจะมีการนับการก้าว จดจำท่าทางต่าง ๆ ถือเป็นการบริหารสมอง และฝึกสมาธิให้กับผู้สูงอายุได้ด้วย *ได้พบปะเพื่อนฝูงและคนหมู่มาก เนื่องจากการเต้นบาสโลบนี้มักจะทำกันเป็นหมู่คณะกับคนเป็นจำนวนมาก หลายพื้นที่จัดให้เป็นกิจกรรมประจำสัปดาห์ มีการประกวดแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องท่าเต้น รวมไปถึงเครื่องแต่งกายเพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้ผู้ร่วมกิจกรรม สรุป การเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะอย่างมากกับผู้สูงวัย เพราะได้ประโยชน์หลายอย่างเป็นการออกกำลังกายด้วยความสนุกสนานผ่อนคลาย ท่าเต้นไม่ยาก เรียนรู้และฝึกฝนได้ง่าย สร้างความสุขและได้สุขภาพดีไปในเวลาเดียวกัน ก่อนการออกกำลังกาย ต้องตรวจสอบความพร้อม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้

  2. ตรวจสอบโครงสร้างของร่างกาย การที่ผู้เต้นมีน้ำหนักมากสภาพร่างกายทางกระดูกและกล้ามเนื้อมีปัญหา เช่น การผิดรูปของเท้า และการขาดความสมดุลของกล้ามเนื้อ เมื่อเต้นแล้วต้องมีการรับน้ำหนักตัว และแรงกระแทก อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อเข่าและข้อเท้าได้
  3. ตรวจสอบความพร้อมของร่างกาย หากไม่สบายเป็นไข้ นอนหมดแรง มีการบาดเจ็บทางกล้ามเนื้อ กระดูกตามบริเวณต่าง ๆ หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงก่อน หรือแม้แต่การมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด ผู้เต้นควรแจ้งครูผู้สอนหรือผู้นำ หรือกระทั่งเพื่อน ๆ สมาชิก เพื่อจะได้ช่วยกันเฝ้าสังเกตอาการ
  4. เทคนิคการเต้นและการออกแรง เนื่องจากการเต้นจะใช้การเคลื่อนไหวในทุกส่วนของร่างกายและทุกทิศทาง ทั้งผู้นำเต้นและผู้เต้นควรมีการพิจารณาถึงความฟิตความสามารถในการเคลื่อนไหวของตนเอง และควรหลีกเลี่ยงท่าเต้นที่มีผลต่อตัวผู้เต้นเอง
  5. ระยะเวลาในการเต้นให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างน้อย 30 นาที ส่วนความถี่ในการเต้นก็แล้วแต่สะดวก แต่หากมีการบาดเจ็บบริเวณใดควรงดท่าเต้นที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ หรืองดการเต้นไปสักพักจนกล้ามเนื้อแข็งแรงก่อน
  6. อย่าลืมว่าก่อนเต้นต้องมีการอบอุ่นร่างกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เต็มที่ในทุกส่วนของร่างกายก่อนเสมอ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวอยู่นั้นอ่อนตัวลง ช่วยลดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อเอ็น และเนื้อเยื่อต่าง ๆ และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้ออีกด้วย
  7. เลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมเสื้อผ้าต้องกระชับกับรูปร่างตนเอง ไม่รุ่มร่ามจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะเต้นได้ ส่วนรองเท้าควรเลือกสวมรองเท้าที่มีชั้นรองเท้ารองรอบเท้าเพื่อลดการกระแทกและควรมีขนาดได้สัดส่วนกับเท้าของตนเอง จะช่วยลดการบาดเจ็บที่เกิดจากการกระแทกของข้อเข่า ข้อเท้าและข้อสะโพกได้
  8. เลือกพื้นที่บริเวณที่จะใช้เต้น ควรเป็นพื้นที่ความยืดหยุ่นและไม่ลื่น เพราะจะช่วยให้เกิดความมั่นคงในการเคลื่อนไหว หากสถานที่เต้นเป็นพื้น คอนกรีตจะเกิดแรงกระแทกได้ง่าย ผู้เต้นต้องรู้จักการป้องกันตนเอง ลดแรงกระแทกของข้อต่อ ขณะเคลื่อนไหวด้วยการย่อเข่าและเรียนรู้ท่าเต้นที่ถูกต้อง หากเป็นพื้นพรม หรือสนามหญ้าจะมีความหนืดในการเคลื่อนไหว เสี่ยงต่อการสะดุดเท้าตนเองได้
  9. หลังจากการออกกำลังกายควรมีการยืดเหยียด เพื่อช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับกระดูกสันหลัง เทคนิค ในการเต้นให้ดูน่ามอง
  10. เทคนิคการใช้สะโพก
  11. เทคนิคการลงน้ำหนัก (เท้าเป็น เท้าตาย)
  12. เทคนิคการหมุน
  13. เทคนิคการใช้ร่างกายในการสื่อสาร(อินเนอร์) กฎการเต้นบาสโลบ (ให้น่ามอง)
  14. ไม่ก้มหน้าเต้น
  15. ไม่ปล่อยมือเต้น
  16. แถวต้องตรง
  17. ความรู้สึกของผู้เต้น(อินเนอร์)

    จากแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมความรู้ มีคำถามทั้งหมด 5 ข้อ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 28 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
    คะแนน ก่อนการอบรม (คน) ร้อยละ หลังการอบรม (คน) ร้อยละ 0 1 4 0 0 1 14 50 0 0 2 13 46 0 0 3 0 0 0 0 4 0 0 0 0 5 0 0 28 100 รวม 28 100 28 100

    ดังนั้น จากแบบทดสอบความรู้จะเห็นได้ว่าสมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการเต้นบาสโลบ และนำมาปรับใช้ในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

    1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่งเสริม สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม ให้มีทักษะ ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างถูกต้อง ตามแบบของบาสโลบ  ร้อยละ 80 จากการอบรมพร้อมการฝึกปฎิบัติเพิ่มทักษะการเต้น และการรำสมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง มีทักษะเพิ่มขึ้น และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างถูกต้อง ตามแบบของบาสโลบ โดยได้ปฏิบัติตามวิทยากรอย่างถูกต้องร้อยละ 80

  18. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด      2.1 การบรรลุตามวัตุประสงค์  บรรลุตามวัตถุประสงค์  ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมในโครงการ  28 คน

  19. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 15,240.00 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 15,240.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุน - บาท คิดเป็นร้อยละ  -
  20. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน  ไม่มี  มี

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการเต้นบาสโลบมาปรับใช้ในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง มีความรู้ในเรื่องการเต้นบาสโลบอย่างถูกต้องร้อยละ 80 - ประเมินโดยแบบทดสอบความรู้
80.00 100.00

สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง มีความรู้ในเรื่องการเต้นบาสโลบอย่างถูกต้อง

2 เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่งเสริม สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม ให้มีทักษะ ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างถูกต้อง ตามแบบของบาสโลบ
ตัวชี้วัด : สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง มีทักษะ อย่างถูกต้องร้อยละ 80 - ประเมินจากการสาธิตย้อนกลับ
80.00 100.00

สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง มีทักษะ อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 28
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 20 23
กลุ่มผู้สูงอายุ 5 5
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุง ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการเต้นบาสโลบมาปรับใช้ในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง (2) เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่งเสริม สมาชิกชมรมบาสโลบยามเย็นบ้านจีน เทศบาลตำบลฉลุงที่เข้ารับการอบรม ให้มีทักษะ ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างถูกต้อง ตามแบบของบาสโลบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมวันแรกของการอบรม (3) กิจกรรมวันที่สองของการอบรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh