โครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L7161-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอสม. ชุมชนเบตงฮูลู |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 46,681.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปรารถนา ธัมมากาศ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเจ็บป่วยในระดับรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้น เกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลูก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลู มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,434 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย ในปี พ.ศ.2560 – 2561และในปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 11 ราย ในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 รายและในปี 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศาลาประชาคม) จากผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามบ้านจำนวน 250 ครัวเรือน (HI,CI) พบลูกน้ำยุงลาย 52 ครัวเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 413 ชิ้นพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 86 ชิ้น มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 23 ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐานรวมถึงปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยามีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นในชุมชนซึ่งทั้งสองโรคนี้มีพาหนะนำโรคเป็นยุงลายเช่นเดียวกัน โดยโรคไข้เลือดออกมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคส่วนโรคไข้ปวดข้อยุงลายมียุงลายสวน และยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่พบในเขตพื้นที่ภาคใต้และมีอาการคล้ายคลึงกัน ถึงแม้โรคชิคุนกุนยาจะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก มีการรักษาตามอาการให้สามารถหายได้เอง แต่อาจจะมีอาการปวดข้อเรื้อรังตามมา ในบางรายอาจปวดนานถึง 2 ปี และในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มีวัคซีนป้องกันซึ่งการจะแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้หมดไปจากชุมชนจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคดังกล่าวการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และร่วมกันขจัดต้นตอของปัญหา คือ ยุงลาย โดยร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ รวมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ครัวเรือน อสม. กรรมการชุมชน แกนนำในชุมชน ในการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝน ต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม. ชุมชนเบตงฮูลู จึงได้จัดทำโครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประจำปี 2568 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนตามเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้ารร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายและตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรค ประชากรในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และป้องกันตนเองจากโรคได้ร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน ตามเป้าหมายดังนี้ - ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยแต่ละที่ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0) - ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ 80 ของชุมชน |
80.00 | |
3 | เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชน อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายลดลง |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 46,681.00 | 3 | 46,681.00 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป | 0 | 30,831.00 | ✔ | 19,500.00 | 11,331.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรป้องกันยุงกัด “สวนสมุนไพรไล่ยุง” | 0 | 1,000.00 | ✔ | 17,106.00 | -16,106.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย | 0 | 14,850.00 | ✔ | 10,075.00 | 4,775.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 46,681.00 | 3 | 46,681.00 | 0.00 |
1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายตระหนักถึงพิษภัยของโรคและสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกวิธี 2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต 3.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลสยในชุมชนลดลง 4.ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 00:00 น.