กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. นักสื่อสารสุขภาพค้นหารู้ทันภัยสุขภาพในตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
รหัสโครงการ 68-L2971-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็ง
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 23,072.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวตอยบะห์ นิคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสื่อต่างๆ นับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของประชาชนเป็นอย่างมาก ประกอบช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2562 – 2565 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ประชาชนจึงมีการความสนใจพิจารณาเกี่ยวกับสุขภาพ มักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ รวมทั้งสื่อโซเซี่ยวมีเดีย ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อๆรูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของประชาชนในการตัดสินใจเชื่อถือบทความ ข่าว ซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และใช้บริการสุขภาพนั้นๆ การดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสื่อที่ได้รับให้ละเอียดรอบคอบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือมีโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงหรือไม่ เนื่องจากหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อถือข้อความบนสื่อโฆษณาโดยปราศจากการไตร่ตรอง ประกอบกับใช้ความต้องการ ความอยากได้และความปรารถนาของจิตใจเป็นตัวนำทางในการเลือกสินค้ามากกว่าความสมเหตุสมผลจะทำให้ได้รับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพที่ไม่สมประโยชน์ และอาจเกิดผลเสียหาย มีอันตรายต่อรางกายและจิตใจของผู้บริโภคได้ การสื่อสารจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่หลายฝ่ายได้พยายามกระทำมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้ จากสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชากรในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบาโงยือแบ็ง พบว่า ประชากรทั้งหมดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยือแบ็งจำนวน 1,228คน ประชากรกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 488 คน คิดเป็นร้อยละ 39.74 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา โดยกลุ่มนี้จะค่อยๆ สะสมอาการมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ มีอาการอย่างต่อเนื่องและเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเพื่อ และชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80

1.00 2.00
2 ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงมีความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านสุขภาพ ที่นำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม

สถานีสุขภาพในชุมชน หมู่ละ 1 แห่ง

1.00 2.00
3 ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพในเบื้องต้นได้

 

1.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,072.00 0 0.00
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. นักสื่อสารสุขภาพคุณภาพค้นหารู้ทันภัยในสภาพชุมชน 0 23,072.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 00:00 น.