กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเชิงรุกนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,166.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวัฒน์ ล่าโยค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 171 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน และปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้
      จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 9 ปี 2566 โดยสำนักทันตสาธารณสุข พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีฟันถาวรผุ ร้อยละ 49.7 ผุเฉลี่ย 1.2 ซี่ต่อคน มีสภาวะเหงือกอักเสบสูงถึงร้อยละ 80.2 และยังพบว่า 12 เด็กนักเรียน 1 ใน 8 คน เคยหยุดเรียนเพราะไปทำฟัน โดยเฉลี่ยขาดเรียน 1 วัน/คน ปัจจัยสำคัญของการเกิด ปัญหาสุขภาพช่องปากมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม โดยจากรายงานดังกล่าว พบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ร้อยละ 57.8 ไม่เคยแปรงหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน มีเด็กแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน เพียงร้อยละ 57.8 มีพฤติกรรมกินลูกอม สูงถึงร้อยละ 73.6 พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล มากกว่า 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป ร้อยละ 10.6 และกินขนมกรุบกรอบมากกว่า 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป ร้อยละ 16.1 การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างเป็นระบบในโรงเรียน ตลอดจนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์ สามารถเข้ารับบริการ ทันตกรรมได้อย่างครอบคลุมมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีในระยะยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดช่วงชีวิต

จากผลการออกตรวจฟันนักเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน- พิปูนล้นเกล้า พ.ศ. 2567 พบว่าเด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี มีฟันถาวรผุ ร้อยละ 55.32 ซึ่งมากกว่าค่าระดับประเทศ และนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา มีอัตราโรคฟันผุสูง มีสัดส่วนการเข้าถึงกิจกรรมการส่งเสริมป้องกันทางทันตสุขภาพ และการรับบริการบำบัดรักษาทางทันตกรรม ต่ำกว่านักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการจัดบริการทันตสาธารณสุขแบบครบวงจร ประกอบด้วย การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้ สุขศึกษา การฝึกทักษะแปรงฟันที่ถูกวิธี การให้บริการทันตกรรมที่จำเป็น และการเฝ้าระวัง ติดตาม อย่างต่อเนื่อง       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเชิงรุกนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 3. ส่งต่อเด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเพื่อเข้ารับการรักษา
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกา ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
  3. ร้อยละ 100 เด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกาที่เข้าร่วมโครงการที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษา
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 171 20,166.00 0 0.00 20,166.00
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน 171 20,166.00 - -
รวมทั้งสิ้น 171 20,166.00 0 0.00 20,166.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2568 12:07 น.