โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคหัดในชุมชน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคหัดในชุมชน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2516-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาส่งดสริม |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนลินี ขุนล่ำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | ว่าที่ร้อยตรีนาซืรี กามา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.434,101.507place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อหมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจสามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้ โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆ มีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด เมื่อมีการถ่ายทอดไปยังผู้อื่น แสดงว่ามีการะบาดของโรคนั้นขึ้น และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดและการป้องการที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดอัตราการป่วยตายและการแพร่กระจายของโรคที่เกิดขึ้น โรคหัดก็เป็นโรคติดต่ออีกโรคหนึ่ง ที่มีลักษณะอาการเด่นของโรค คือ ไข้ ออกผื่น พบได้ทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1 - 6 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศเมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป ก็ทำให้เป็นโรคได้ ถ้าไม่มีภูมิต้านทาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้โรคหัดยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากข้อมูลสถานการณ์โรคหัดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2567 พบผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 12 ราย คิดเป็นอัตรา 7,058.82 ต่อแสนประชากร และในปีงบประมาณ 2568 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2568 - เดือนธันวาคม พ.ศ.2568 พบผู้ป่วยทั้งหมด 2 ราย คิดเป็นอัตรา 1,176.47 ต่อแสนประชากร ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ จึงได้มีการจัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคหัดในชุมชน ตลอดจนประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว นำเด็กที่มีอายุ 9 เดือน ถึง 5 ปี ไปรับการฉีดวัคซีนเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนและเด็กให้มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดีและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- วิธีดำเนินการ 1. เสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ พิจารณาอนุมัติงบประมาณ 2. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคีเครือข่าย แกนนำ และเชิญกลุ่มเป้าหมาย 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ 4. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคหัดในชุมชน แก่กลุ่ม ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ภาคีเครือข่าย และแกนนำชุมชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ลงทะเบียน
-เนื้อหาการอบรม
–วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคหัดในชุมชน
-วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมและป้องกันโรคหัดในชุมชน
5.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ พร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงาน และให้คณะกรรมการกองทุนทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
- เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดได้ครบตามเกณฑ์วัคซีน
- พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการให้บุตรหลานมารับวัคซีนเพิ่มขึ้น
- เครือข่ายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตาดีกา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยได้รับวัคซีน
- ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ความสำคัญ มีความเชื่อและทัศนคติทางบวกและเห็นประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรค
- ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- เครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 13:48 น.