โครงการวัยเรียนวัยใสใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการวัยเรียนวัยใสใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2516-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านมือและห์ |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวทัศนีม บินอูมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | ว่าที่ร้อยตรีนาซือรี กามา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.434,101.507place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 164 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ ทางด้านร่างกายมากขึ้น การได้รับการดูแลด้านสุขภาพที่เมาะสมถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต หากเด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่สมบูรณ์และแข็งแรง มีทักษะสามารถดูแลสุขภาพตนเอง มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และมีความพร้อมในการเรียนรู้ย่อมส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป แต่การสร้างสุขภาพให้มีความเหมาะสมและพัฒนาการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดต้องอาศัยการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชน เป็นต้น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาให้เด็กวัยเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
จากข้อมูลรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ พ.ศ.2567 เด็กวัยเรียน 6 – 14 ปี มีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 46.24 มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 6.81 ภาวะเตี้ย ร้อยละ 15.77 และเด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 50 ตามลำดับซึ่งปัญหาสุขภาพโดยส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมตามวัย รวมไปถึงขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของกรมอนามัยในปีงบประมาณ 2568 ได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 61 ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 11.5 ภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ 9.5 เด็กอายุ 12 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ 73 ซึ่งสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ดังกล่าว ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด รวมถึงต้องมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กวัยเรียน ได้แก่ การดูแลสุขภาพช่องปาก , ภัยสุขภาพในชุมชน , ภาวะซีดในเด็ก , โรคสมาธิสั้น , วัคซีน , การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็ก เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กวัยเรียนและสร้างความเสมอภาคลดความเลื่อมล้ำทางสังคม
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมือและห์ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียน จึงได้จัดโครงการวัยเรียนวัยใสใส่ใจสุขภาพ ปี 2568 เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านสุขภาพให้เด็กวัยเรียนในการดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพนักเรียน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เก่ง ดี มีทักษะ นักเรียนสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสาวอ พิจารณาอนุมัติงบประมาณ
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ,ภาคีเครือข่าย ,แกนนำ และเชิญกลุ่มเป้าหมาย
- จัดเตรียมอุปกรณ์
- จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เด็กนักเรียน , ครูอนามัยโรงเรียน และภาคีเครือข่าย ทั้ง 2 โรงเรียน มีรายละเอียดดังนี้
- ลงทะเบียน -เนื้อหาการอบรม –วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับด้านสุขภาพต่างๆ ได้แก่ การดูแลสุขภาพช่องปาก , ภัยสุขภาพในชุมชน , ภาวะซีดในเด็ก , โรคสมาธิสั้น , วัคซีน , การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
กิจกรรมที่ 2 สาธิตการแปรงฟัน , สาธิตการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียน , สาธิตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรม การกองทุนทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
๖.๑ นักเรียนทุกคนมีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
๖.๒ ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และสามารถเฝ้าระวังติดตามเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านต่างๆ ในชุมชนได้
6.3 ผู้บริหารโรงเรียน/ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กประจำปี 2568
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 14:32 น.