โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน |
วันที่อนุมัติ | 11 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 มิถุนายน 2568 - 22 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 22 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปัทมา สะมะแอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลถนน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นและเป็นปัญหาทุพโภชนาการในทุกกลุ่มวัย ส่งผลต่อการเจริญการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย พัฒนาการสมอง ประสิทธิภาพการเรียนรู้การทำงานของเด็กวัยเรียนและวัยทำงาน และมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หากหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือ ร่างกายเก็บสะสมธาตุเหล็กไว้ไม่เพียงพอ เมื่อตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ โดยผลกระทบมารดา คือ รกลอกตัวก่อนกำหนด และการคลอดก่อนกำหนด สำหรับผลกระทบต่อทารก คือ อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ (น้อยกว่า 2,500 กรัม) อาการตัวเหลือง จากข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 48.7 ทั้งนี้ ตามมติสมัชชาอนามัยโลก Global Nutrition Targets ที่ตั้งเป้าหมายลดภาวะโลหิตจางของหญิงวัยเจริญพันธุ์ลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2573 ยังไม่บรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ ในขั้นต้นประเทศไทยควรมีภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่เกิน 24.3 และลดลงให้เหลือร้อยละ 12.7 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการและมีมาตรการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพในปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 ถึง 45 ปี หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ลดปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์สู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์คุณภาพ และลดความเสี่ยงของทารกพิการแต่กำเนิด และโอกาสเกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,700.00 | 0 | 0.00 | 15,700.00 | |
??/??/???? | อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และโฟเลต ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ | 0 | 15,700.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 15,700.00 | 0 | 0.00 | 15,700.00 |
7.1 หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กและกรดโฟเลต 7.2 หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกตามชุดสิทธิประโยชน์ 7.3 หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 11:20 น.