กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน

ตำบลถนน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นและเป็นปัญหาทุพโภชนาการในทุกกลุ่มวัย ส่งผลต่อการเจริญการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย พัฒนาการสมอง ประสิทธิภาพการเรียนรู้การทำงานของเด็กวัยเรียนและวัยทำงาน และมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หากหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือ ร่างกายเก็บสะสมธาตุเหล็กไว้ไม่เพียงพอ เมื่อตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ โดยผลกระทบมารดา คือ รกลอกตัวก่อนกำหนด และการคลอดก่อนกำหนด สำหรับผลกระทบต่อทารก คือ อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ (น้อยกว่า 2,500 กรัม) อาการตัวเหลือง จากข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 48.7 ทั้งนี้ ตามมติสมัชชาอนามัยโลก Global Nutrition Targets ที่ตั้งเป้าหมายลดภาวะโลหิตจางของหญิงวัยเจริญพันธุ์ลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2573 ยังไม่บรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ ในขั้นต้นประเทศไทยควรมีภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่เกิน 24.3 และลดลงให้เหลือร้อยละ 12.7 ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุข ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการและมีมาตรการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพในปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 ถึง 45 ปี หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ลดปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์สู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์คุณภาพ และลดความเสี่ยงของทารกพิการแต่กำเนิด และโอกาสเกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนไทยในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.1 เพื่อสร้างความรอบรู้การบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กและกรดโฟเลตแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์
1.2 เพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกตามชุดสิทธิประโยชน์
1.3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด จำนวน 30 คน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 04/06/2025

กำหนดเสร็จ : 22/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และโฟเลต ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และโฟเลต ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2เมตร                                 เป็นเงิน   500    บาท
    • ค่าป้ายสุขศึกษา ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร ราคาตารางเมตรละ250 บาท  เป็นเงิน 500  บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท         เป็นเงิน 1,200   บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 100 คนๆละ 50 จำนวน 1 มื้อ            เป็นเงิน  5,000  บาท
    • ค่าบริการอาหารว่าง จำนวน 100  คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ    เป็นเงิน  5,000  บาท
  • ค่าเอกสารความรู้เรื่องการดูแลและป้องกันภาวะซีดชุดละ 30 บาท    เป็นเงิน 3,000  บาท จำนวน 100 ชุด
    • ค่าถ่ายเอกสาร ประกอบเอกสารเข้ารูปเล่ม           เป็นเงิน 500     บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กและกรดโฟเลต
7.2 หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกตามชุดสิทธิประโยชน์
7.3 หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง


>