โครงการโภชนาการดี แม่ลูกปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการโภชนาการดี แม่ลูกปลอดภัย |
รหัสโครงการ | 2568-L5179-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน |
วันที่อนุมัติ | 20 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 15 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 33,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาหมัด ตระกูลกลกิจ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 15 ก.ค. 2568 | 16 ก.ค. 2568 | 30,050.00 | |||
2 | 15 ส.ค. 2568 | 15 ส.ค. 2568 | 3,350.00 | |||
3 | 15 ก.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 33,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง | 12.00 | ||
2 | ร้อยละทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม | 7.50 | ||
3 | ร้อยละเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว | 45.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
1,000 วันแรกของชีวิต คือ ช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปีบริบูรณ์ (730 วัน) 1,000 วันแรกของชีวิตเป็นที่รากฐาน สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง จิตใจ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลา ที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับความรัก ความอบอุ่นจากการเลี้ยงลูกด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ทารกเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด โภชนาการขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ในแต่ละวันหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนได้แก่ คาร์บอไฮเดรตโปรตีนไขมันวิตามินเกลือแร่ และน้ำในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของตนเอง และทารกในครรภ์โดยพลังงาน และสารอาหารต่างๆ มาจากอาหารที่หญิงตั้งครรภ์รับประทานซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายและส่งผ่านสารอาหารจากหญิงตั้งครรภ์ไปทางรกสู่ทารกในครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์การได้รับสารอาหารที่มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดีมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์สุขภาพแข็งแรงและทารกในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องการสารอาหารมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้สำหรับผลิตน้ำนม ดังนั้น หากคุณแม่เตรียมร่างกายให้พร้อม เลือกกินอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณของน้ำนมแม่ ทำให้ลูกเจริญเติบโตแข็งแรง สมส่วนกับวัยของลูกนั่นเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง |
12.00 | 10.00 |
2 | เพื่อลดอัตราทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม |
7.50 | 6.50 |
3 | เพื่อเพิ่มอัตราเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว |
45.00 | 55.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 210 | 33,700.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 14 ก.ค. 68 | ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน | 5 | 0.00 | - | ||
15 - 16 ก.ค. 68 | การส่งเสริมโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ดูแล ครอบครัว และจิตอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน | 100 | 30,050.00 | - | ||
15 ส.ค. 68 | กิจกรรมติดตาม และประเมินผล | 100 | 3,350.00 | - | ||
15 - 30 ก.ย. 68 | สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ | 5 | 300.00 | - |
- เกิดความร่วมมือของชุมชนในการเพิ่มศักยภาพของครอบครัว และชุมชนในการดูแล หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
- เพิ่มการเข้าถึงบริการทางสังคมที่พึงได้รับในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2568 00:00 น.