กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี แม่ลูกปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

1. นายอาหมัด ตระกูลกลกิจ ประธาน
2. นางรัญชนา หมะหลี กรรมการ
3. นางสาวมัตตรีญา เจะหนิ กรรมการ
4. นางสาวนาตยา ชูเขียว กรรมการ
5. นางสาวรุสวัยดา มามะ กรรมการ

พื้นที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง

 

12.00
2 ร้อยละทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

7.50
3 ร้อยละเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

 

45.00

1,000 วันแรกของชีวิต คือ ช่วงเวลาตั้งแต่การปฏิสนธิ และตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปีบริบูรณ์ (730 วัน) 1,000 วันแรกของชีวิตเป็นที่รากฐาน สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง จิตใจ และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลา ที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมร่วมกับความรัก ความอบอุ่นจากการเลี้ยงลูกด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ทารกเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด
โภชนาการขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ในแต่ละวันหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนได้แก่ คาร์บอไฮเดรตโปรตีนไขมันวิตามินเกลือแร่ และน้ำในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของตนเอง และทารกในครรภ์โดยพลังงาน และสารอาหารต่างๆ มาจากอาหารที่หญิงตั้งครรภ์รับประทานซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายและส่งผ่านสารอาหารจากหญิงตั้งครรภ์ไปทางรกสู่ทารกในครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์การได้รับสารอาหารที่มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดีมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์สุขภาพแข็งแรงและทารกในครรภ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม
ช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องการสารอาหารมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้สำหรับผลิตน้ำนม ดังนั้น หากคุณแม่เตรียมร่างกายให้พร้อม เลือกกินอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณของน้ำนมแม่ ทำให้ลูกเจริญเติบโตแข็งแรง สมส่วนกับวัยของลูกนั่นเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง

ร้อยละอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง

12.00 10.00
2 เพื่อลดอัตราทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

7.50 6.50
3 เพื่อเพิ่มอัตราเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

ร้อยละเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

45.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน เพื่อกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
  3. ดำเนินการ รับสมัคร และจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ดูแลครอบครัว และจิตอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน เพื่อดำเนินการเข้าร่วมโครงการ
  4. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์/สถานที่/เอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินการตามโครงการ

งบประมาณ

  • ไม่มี
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 14 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้รับรู้แผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ดูแล ครอบครัว และจิตอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ดูแล ครอบครัว และจิตอาสาในชุมชน จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ และฝึกทักษะด้านการส่งเสริมโภชนาการโดยมีเนื้อหา ดังนี้

  1. การเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการของแม่ก่อนตั้งครรภ์

  2. ภาวะโภชนาการของแม่ (ในช่วงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร) ต่อสุขภาพ และพัฒนาการของเด็ก

  3. ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้าง และหลั่งน้ำนม

  4. หลักการจัดอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวัน (กลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 100 คนๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน (เจ้าหน้าที่) จำนวน 8 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 1,280 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เจ้าหน้าที่) จำนวน 8 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
  • ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา สมุด จำนวน 100 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร (ตารางเมตรละ 150 บาท) เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าสื่อที่ใช้ในการอบรม (โฟมบอร์ด) ขนาด 80 x 50 ซม. จำนวน 4 ชุดๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2568 ถึง 16 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คะแนนความรู้ด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสของหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ดูแลครอบครัว จิตอาสาในชุมชนหลังการเข้าร่วมอยู่ในระดับดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30050.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตาม และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แบ่งกลุ่มให้หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 8 กลุ่มตามหมู่บ้าน

  2. ให้แต่ละกลุ่มสาธิตเมนูอาหารที่ใช้หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร พร้อมทั้งนำเสนอกลุ่มละ 1 เมนู

  3. นัดหมายกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 8 กลุ่ม พร้อมทั้งนำเสนอสาธิตเมนูอาหาร เป็นรายกลุ่ม (ภาคเช้า)

  4. กลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้
    งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 50 คนๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าเหมาจ่าย สาธิตเมนูอาหารของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 เมนูๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2568 ถึง 15 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้เมนูอาหารเพื่อสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน 

งบประมาณ

  • ค่าเล่มรายงาน จำนวน 1 เล่มๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เกิดความร่วมมือของชุมชนในการเพิ่มศักยภาพของครอบครัว และชุมชนในการดูแล หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
- เพิ่มการเข้าถึงบริการทางสังคมที่พึงได้รับในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร


>