กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 1/61
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุอนามัยบ้านม่วงโพรง
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2561
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,800.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุบ้านม่วงโพรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 65.00
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 75.00
  3. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 72.00
  4. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ขนาด 95.00
  5. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน ขนาด 22.00
  6. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน ขนาด 74.00
  7. ร้อยละของกิจกรรมในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) ขนาด 100.00
  8. ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน ขนาด 42.00

มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
  2. ประเมินการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางกายในชุมชน
วิธีดำเนินการ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการตรวจฟันผู้สูงอายุ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพตามสิทธิประโยชน์ 2.ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและนำไปปฏิบัติ และเผยแพร่ให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้ทราบแนวทางในการดูแลสุขภาพ