กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ การดำเนินการจัดโครงการสุขภาพเป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ โดยมีการจัดทำประชาคมเพื่อร่วมกันค้นหาประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 และได้มีการกำหนดวันการทำโครงการ “บ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.” ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ประเมินประสิทธิผล ประสิทธิผลโครงการ=  (ผลลัพธ์ที่ทำได้ ×100)/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 35 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผลการประเมิน: มีประชากรกลุ่มเสี่ยงมารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 63 คน จากทั้งหมด 251 คน คิดเป็นร้อยละ 25.1  ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้
ประสิทธิผลโครงการ =    (25.1 × 100)/35 =    71.71 % ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากประชากรกลุ่มเสี่ยงบางส่วน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เพราะยังประกอบอาชีพกรีดยางและเก็บน้ำยางหรือปฏิบัติภารกิจส่วนตัวไม่เสร็จ รวมทั้งอาจมีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน นอกจากนี้ยังมีประชากรบางส่วน ที่มีชื่ออยู่ภายในหมู่บ้าน แต่ไม่ได้อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้าน
เป้าหมายที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 60 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 66 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้
ประสิทธิผลโครงการ =    (90.91 × 100)/80       =    113.64
ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า การดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความน่าสนใจ เนื้อหาไม่มากจนเกินไป เข้าใจง่าย เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และใช้เวลาในการไม่มากจนเกินไปในการให้ความรู้ เป้าหมายที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตการจัดเมนูอาหารใน 1 มื้อ ทั้งหมด 53 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการ 66 คน คิดเป็นร้อยละ 80.3 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =    (80.3 ×100)/80     = 100.38 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตการจัดเมนูอาหารใน 1 มื้อ ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า ผลการดำเนินโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากอาหารที่ได้ยกตัวอย่าง เป็นอาหารที่ชาวบ้านมักจะทานเป็นประจำ และมีความคุ้นชินอยู่เดิมแล้ว จึงทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เป้าหมายที่ 4 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 50 คน จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 53 คน คิดเป็นร้อยละ 94.34 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =  (94.34 × 100)/80     =  117.92 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า การดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการ มีความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และให้ความสำคัญในการออกกำลังกายมาก อีกทั้งการให้ความรู้ในเรื่องของการออกกำลังกาย ยังมีสื่อให้กับผู้ที่สนใจ สามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน เป้าหมายที่ 5 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตย้อนกลับการบริหารท่ามณีเวช ทั้งหมด 47 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 88.67 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ = (88.67 ×100)/80    = 110.83
ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการสาธิตย้อนกลับการบริหารท่ามณีเวชได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่า ผลการดำเนินโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก และการบริหารร่างกายด้วยมณีเวช เป็นการออกกำลังกายที่เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เป้าหมายที่ 6 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 49 คน จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 49 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผล ได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =    (100 x 100)/80      =    125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแปลผลได้ว่าการดำเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วน มีความตระหนักในการลด ละ เลิก บุหรี่และสุราอยู่แล้ว อีกทั้งการให้ความรู้ในเรื่องของบุหรี่และสุรา เป็นการเน้นการให้บริการรายบุคคล ทำให้ผู้เข้าร่วมบริการมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 35 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
35.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
80.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (3) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการบ้านโคกสักออก รักษ์สุขภาพด้วย 3อ.2ส.

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh