กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาในชุมชน ร่วมกับ บุคลากรสาธารณสุข อสม. และแกนนำสุขภาพ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้  ครั้งที่ 1 วันที่ 20 เมษายน  2561  ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พฤษภาคม 2561  ครั้งที่ 3 วันที่ 20 มิถุนายน  2561  ครั้งที่ 4 วันที่ 20 กรกฎาคม  2561
  2. กิจกรรม งานโรคไม่ติดต่อ กิจกรรมชมรมโรคเรื้อรัง

2.1 กิจกรรมให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

 ครั้งที่ 1 วันที่ 3 เมษายน 2561 ให้ความรู้เรื่อง งาดำ สรรพคุณของงาดำ ทานงาดำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุดรวมถึง วิธีการเลือกซื้อเมล็ดงาดำ

 ครั้งที่ 2 วันที่ 6 มิถุนายน 2561 ให้ความรู้เรื่อง โรคกลุ่ม NCD คืออะไร ซึ่ง NCD เป็นโรคที่เราสร้างขึ้นเอง โรคกลุ่ม NCD มีโรคอะไรบ้าง ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากโรคกลุ่ม NCD และให้ความรู้เรื่อง อาหารต้องห้าม ยิ่งกินยิ่งแก่

 ครั้งที่ 3 วันที่ 3 สิงหาคม 2561 ให้ความรู้เรื่องการบริหารกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและลิ้น และการสาธิตการบริหารกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและลิ้น

2.2 จัดกิจกรรมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตาม 1-3-6 เดือน จำนวน 3 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ดังนี้


 ครั้งที่ 1 ติดตาม 1 เดือน วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของน้ำผัก & น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 7.69 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 15.38 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 7.69 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 18.18 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 9.09

 ครั้งที่ 2 ติดตาม 3 เดือน วันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่อง 10 ประโยชน์ของเมี่ยงคำ อาหารช่วยบำรุงธาตุ กินแล้วสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 15.38 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 38.46 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 7.69 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 31.82 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 22.73

 ครั้งที่ 3 ติดตาม 6 เดือน วันที่ 5 กันยายน 2561 ประเมินภาวะสุขภาพ (ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/วัดรอบเอว) ให้ความรู้เรื่อง        ข้อดีของการเต้นออกกำลังกาย ผลการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 15.38 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 46.15 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 15.38 และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มป่วยเบาหวาน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 4.54 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 36.36 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 27.27

  1. งานอนามัยแม่และเด็ก
    กิจกรรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองพัฒนาการกลุ่มปฐมวัย จำนวน 5 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ดังนี้

 ครั้งที่ 1 วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 11 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 7 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 4 ราย

 ครั้งที่ 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2561 อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 9 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 4 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 5 ราย

 ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 7 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 5 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 2 ราย

 ครั้งที่ 4 วันที่ 20 สิงหาคม 2561 แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) และแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 9 เดือน, อายุ 18 เดือน (1 ปี 6 เดือน), อายุ 30 เดือน (2 ปี 6 เดือน), อายุ 42 เดือน          (3 ปี 6 เดือน) ผลการประเมินพัฒนาการ ทั้งหมด 7 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 6 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 1 ราย

 ครั้งที่ 5 วันที่ 27 สิงหาคม 2561 สรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ทั้งหมด 34 ราย พบว่า พัฒนาการปกติ จำนวน 22 ราย และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 12 ราย

  1. การประเมินผล สรุปโครงการ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ 0 - 5 ปี พัฒนาการสมวัย
0.00 100.00

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการและพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 (จากแบบประเมิน DSPM)

2 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
0.00 100.00

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100 (จากแบบประเมิน)

3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
ตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาหาย
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175 175
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35 35
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย  (2) 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง  (3) 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh