กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ 1 ม.ค. 2561 19 เม.ย. 2561

 

ให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการเจาะเลือดตรวจ โดยนางสาวปรางมาศ จันทร์คง พยาบาลวิชาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 2 ไตรมาสแรก  โดยปรางมาศ จันทร์คง พยาบาลวิชาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส ที่ 3 และ 4 ของการตั้งครรภ์  โดยปรางมาศ จันทร์คง พยาบาลวิชาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและอาการผิดปกติของมารดาและทารกหลังคลอด โดยปรางมาศ จันทร์คง พยาบาลวิชาชีพ

 

  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ พร้อมทั้งสามีหรือญาติเข้าร่วมกิจกรรมรับฟังสุขศึกษาการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ในช่วงสองไตรมาสแรกคิดเป็นร้อยละ 96.8
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ พร้อมทั้งสามีหรือญาติเข้าร่วมกิจกรรมรับฟังสุขศึกษาการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดคิดเป็นร้อยละ 96.8
  3. จากการประเมินความรู้ความเข้าใจของหญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติโดยส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และขณะคลอด ส่งผลให้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงดังนี้
    • หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 88.89
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 85.96
    • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 86.89 หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ มีความเข้าใจ และให้ความสำคัญในการดูแลครรภ์มากขึ้น สามารถลดภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีภาวะเสี่ยงอยู่ เช่น มีภาวะของโรคความดันโลหิต เบาหวาน มีภาวะซีด