กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

สภาพปัจจุบันปัญหาสังคมไทย ปัญหาในชุมชน คือ ปัญหายาเสพติดได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เด็กและเยาวชนในวัยเรียนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ ในอนาคคตที่จะติดนาเสพติด โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5 และ 6 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ล่อแหลม อยากรู้อยากลอง ขาดความยั้งคิด ติดเพื่อน มีปัญหาในครอบครัว รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการชี้แนะให้รู้ถึงพิษภัยยาเสพติด ความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมต่างชาติ ได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาเป็นเรื่องที่นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั่นการให้นักเรียนมีส่วนร่วมรับรู้ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นแนวทางให้เกิดการยอมรับและยึดถือปฏิบัติ อีกทั้งเป็นแนวร่วมในการดำเนินงานง่ายต่อการขยายผลไปสู่นักเรียนทุกคน โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและร่วมรณรงค์ ต่อต้านยาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนที่สะอาดและปลอดยาเสพติด 2.)นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 3.) นักเรียนและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกันสร้างความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ผลการดำเนินตามโครงการดังกล่าว พบว่า


กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด แก่นักเรียน และผู้ปกครอง

1.1 ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด การป้องกัน และโทษของยาเสพติด แก่นักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยวิทยากร 2 ท่าน ตัวชี้วัดกิจกรรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนความพึงพอใจในกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 82.84 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแบบประเมินรายข้อ พบว่า ความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยายประวัติ ความหมายของยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 84.53 รองลงมา คือ ประสบการณ์ที่ได้จากการร่วมกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 84.27 ส่วนรูปแบบกิจกรรมที่จัดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 80.80 จากการวัดประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการประเมินกิจกรรมการอบรมเรื่องยาเสพติด พบว่า ก่อนการอบรม มีระดับความรู้ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 51.00 หลังการอบรม มีระดับความรู้ดีมาก ค่าเฉลี่ย 82.36

1.2 จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ตัวชี้วัดกิจกรรม พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความเข้าใจและตระหนักที่จะร่วมมือกันสอดส่องดูแลไม่ให้บุตรหลานไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา พบว่าผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ให้ความร่วมมือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหายาสพติดในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าฝาง และพบว่าจากแบบประเมินความพึงพอใจ ประโยชน์ที่ได้จากการทำบันทึกข้อตกลง มีค่าเฉลี่ย 81.87

1.3 เดินรณรงค์ ป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่ประชาชนในชุมชน ตัวชี้วัดกิจกรรม นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ร่วมเดินรณรงค์ ป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด จากแบบประเมินความพึงพอใจ ในรายข้อประโยชน์ที่ได้จากการร่วมเดินรณรงค์ พบว่า ประโยชน์ที่ได้จากการร่วมเดินรณรงค์มีค่าเฉลี่ย 81.33


กิจกรรมที่ 2 จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

2.1 จัดบร์ดนิทรรศการกิจกรรมกลุ่มเผลแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน ตัวชี้วัดกิจกรรม นักเรียนชั้น ป.4 ป.5 และป.6 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานกลุ่ม พบว่าการนำเสนอผลงานต่อกลุ่มเป็นไปด้วยความเรียบร้อย น่าสนใจ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

2.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแต่ละกลุ่ม ตัวชี้วัดกิจกรรม นักเรียนชั้น ป.4 ป.5 และป.6 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแต่ละกลุ่ม ตลอดจนการจัดบอร์ดนิทรรศการให้นักเรียนทุกชั้นเข้าชมนิทรรศการการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านป่าฝาง


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างของนักเรียนให้เกิดประโยชน์

3.1 การออกกำลังกายหลังเลิกเรียนทุกวัน ตัวชี้วัดกิจกรรม นักเรียนชั้น ป.4 ป.5 และ ป.6 นักเรียนเล่นกีฬาตามที่ตนเองชอบและถนัด จากการลงพื้นที่สนามตรวจสอบ จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ย 42.47

3.2 บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ เช่น โรงเรียน มัสยิด สถานที่ต่างๆ ในชุมชน ตัวชี้วัด กิจกรรม นักเรียนชั้น ป.4 ป.5 และ ป.6 ได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีจิตสาธารณะ รู้จักช่วยเหลือกันและกัน จากการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์ 3 ครั้ง พบว่า นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.3 สร้างแกนนำนักเรียน คอยสอดส่องดูแลเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดทั้งในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้การดำเนินการร่วมกันสอดส่องดูแล ชักนำ ต่อต้านให้รู้ถึงพิษภัยยาเสพติด จึงกำหนดสร้างเครือข่ายแกนนำนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นผู้นำและพี่เลี้ยง จัดประชุมรายงานผลให้ครูผู้รับผิดชอบ จำนวน 3 ครั้ง ผลการรายงานสรุปอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล

ตัวชี้วัดกิจกรรม ครูผู้รับผิดชอบลงพื้นที่เยี้ยมบ้านนักเรียนเพื่อสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ปกครองอย่างกัลยาณมิตร ประเมินผลการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนในขณะอยู่ที่บ้านกับผู้ปกครอง เพื่อเป็นข้อมูลประเมินผลตามกิจกรรม นักเรียนและผู้ปกครองให้ความร่วมมือดีเป็นที่น่าพอใจ จากการรายงานของนักเรียนแกนนำพบว่านักเรียนที่มีพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงลดลงและปัญหายาเสพติดในโรงเรียนหมดไป

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. ผู้จัดทำโครงการขาดการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ทำให้การดำเนินกิจกรรมล่าช้าไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด

  2. การดำเนินกิจกรรมบางอย่างอยู่ในช่วงฤดูฝน

  3. โรงเรียนมีกิจกรรมอื่น เช่น กิจกรรมในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมทำให้กิจกรรมต้องเลื่อนออกไปจากแผนที่วางไว้

  4. การดำเนินการวัดความสำเร็จตามตัวชี้วัดบางตัวชี้วัดมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ