กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พี่เลี้ยงลงเยี่ยมกองทุนสุขภาพตำบลในเขตอำเภอยะหริ่ง จำนวน 18 แห่ง คืออบต.จะรัง, ทต.ตอหลัง, ตาแกะ, ตาลีอายร์, ทต.บางปู, ปิยามุมัง, ทต.ยะหริ่ง, ยามู, ราตาปันยัง, ตะโละ, ตะโละกาโปร์, ทต.ตันหยง, ตันหยงดาลอ, บาโลย, ทต.มะนังยง, สาบัน, หนองแรต และแหลมโพธิ์ โดยพี่13 มิถุนายน 2560
13
มิถุนายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเจ้าหน้าที่กองทุนเข้าร่วมประชุมแห่งละ 2 คน และตัวแทนจากสสอ.และรพช. 2 คน ได้แก่ อบต.จะรัง,เทศบาลตำบลตอหลัง,อบต.ตะโละ,อบต.ตะโละกาโปร์,เทศบาลตำบลตันหยง,อบต.ตันหยงดาลอ,อบต.ตาแกะ,อบต.ตาลีอายร์,เทศบาลตำบลบางปู,อบต.บาโลย,อบต.ปิยามุมัง,อบต.มะนังยง,เทศบาลตำบลยะหริ่ง,อบต.ยามู,อบต.ราตาปันยัง,อบต.สาบัน,อบต.หนองแรต,อบต.แหลมโพธิ์ และมีพี่เลี้ยงเข้าร่วมจำนวน 4 คน ได้แก่ นายรอมซีสาและ,นายอัลดุลกอเดร์การีนา,นางวรรณพร บัวสุวรรณ และนายอาแว ลือโมะ พูดคุย 2 section คือพี่เลี้ยงบรรยาย และกองทุนนำเสนอตัวเอง พี่เลี้ยงบรรยายในประเด็น 1.การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารกองทุน 2.สถานการณ์เงินคงเหลือจังหวัดปัตตานี ปี 60และอำเภอหนองจิกโจทย์สำคัญ 2.1ทุกกองทุนสุขภาพตำบลมีแผนการใช้เงินของตนเอง 2.2ทุกหน่วยงานต้องเข้ามาใช้เงินจากกองทุน เช่น โรงพยาบาลชุมชน, รพ.สต., กลุ่มองค์กรชุมชน, ศูนย์ต่างๆ
เป้าหมาย: แผนการใช้เงินดำเนินโครงการให้เงินคงเหลือไม่เกิน 10% (ไม่เกิน 10 ล้านบาท) 3. สิ่งที่เปลี่ยนหลักๆจากเดิม เริ่มตั้งแต่ ปีงบ 60 ได้แก่ 3.1โปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบลเดิม http://obt.nhso.go.th ใช้ทั้งประเทศ ปัจจุบัน http://www.localfund.happynetwork.orgค้นจากเว็บ www.google.co.th พิมพ์คำว่า “กองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้” ใช้เฉพาะสปสช.เขต 12 สงขลา 7 จังหวัด(สงขลา,ตรัง,พัทลุง,สตูล,ปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส)3.2ใช้กลไกพี่เลี้ยงกองทุน(Coaching)ระดับจังหวัด ปัตตานี 18 คน สปสช.เขต 12 สงขลาแต่งตั้ง (กองทุน 1 แห่ง/พี่เลี้ยง 1 คน) พี่เลี้ยง 1 คน/รับผิดชอบกองทุน 3-9 แห่ง 3.3พี่เลี้ยงกองทุน(Coaching)ระดับจังหวัด ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับกรรมการกองทุนฯ 3.3.1จัดทำแผนงานกองทุน 3-5 ปี
3.3.2พัฒนา ปรับปรุง คุณภาพโครงการกองทุนฯให้การสนับสนุน 3.3.3ติดตาม ประเมินผลโดยใช้โปรแกรมผ่านเว็บไซต์ งบประมาณ 1.ใช้งบบริหารกองทุน ข้อ7(4) ในการทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนฯละ 5,000 บาท (ค่าวิทยากร 600 บาท/ชม.ค่าเดินทางภายในจังหวัด) 2.การติดตาม ประเมินผล ใช้งบโครงการแต่ละโครงการ เช่น งบวิทยากร
เราจะช่วยกันดูในวันนี้คือ 1.การบันทึกข้อมูล 2.แผนงาน/โครงการ 3.การบริหารจัดการ เช่น การพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ (ประชุมกี่ครั้งแล้ว) 4.การเบิกจ่ายเงิน เช่น การรับเงิน สปสช. เงินสมทบอปท. เงินโครงการต่างๆ 5 ลำดับการพิจารณาอนุมัติและบันทึกโครงการในโปรแกรม - เริ่มจาก 7(4), 7(5), 7(3), 7(1), 7(2)
ผลลัพธ์(Outcome)กองทุนมีการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม เป็นต้น เป็นปัจจุบัน และกองทุนที่มีงบคงเหลือหลักล้านจะต้องทำแผนระยะ3-5ปีรองรับ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย