กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อสรุปผลการเยี่ยมติดตาม(แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม,การบริหารจัดการของกองทุนสุขภาพตำบล,ระบบการับนทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์)5 กันยายน 2560
5
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานการประชุมสรุปผลสรุปผลการเยี่ยมติดตามกองทุนของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด(Coaching team) ตามโครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี ปี 2560
ครั้งที่ 3 วันที่ 5 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
ผู้เข้าร่วมประชุม ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง เบอร์มือถือ 1.นายรอมซี  สาและ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ปัตตานี 0816796499 2.นายการียา  ยือแร ผอ.รพ.สต.ยะรัง 0898790760 3.นายอัลดุลกอเดร์  การีนา ผอ.กองสาธารณสุขอบต.บานา 0873948919 4.นายมะรอกี  เวาะเล็ง ผอ.กองสาธารณสุขทต.หนองจิก 0819909421 5.นางกัลยา  เอี่ยวสกุล ประธานศูนย์ประสานงานหลักประกันฯจ.ปัตตานี 0899752822 6.น.ส.ซาลีนา  กอเสง จพ.สาธารณสุขชุมชนปฏิบัติการ 0937937171 7.นายสมชาย ละอองพันธุ์ เภสัชกร สปสช. เขต 12 สงขลา 0866940954 ผู้ไม่มาประชุม         1. นายแวฮาซัน  โตะฮิเล  สสอ.หนองจิก                7.นางสาวอาซีซะ  กาเรง  อบต.บ้านน้ำบ่อ         2..นายอาแว  ลือโมะ  สสอ.ยะหริ่ง                        8.นายสราวุฒิ  วิชิตนันท์ สาธารณสุขอำเภอไม้แก่น         3.นายประสพพร  สังข์ทอง  ผอ.รพ.สต.นาเกตุ          9.นางวรรณพร  บัวสุวรรณ นวก.สาธารณสุขชำนาญการ         4.นางเต็มดวง  วงศา  ปลัดอบต.ดอนทราย            10.นายอดุลย์  มามะ ผอ.กองสาธารณสุขทม.ตะลุบัน         5.นายอับดุลตอเละ  จะปะกียา ผอ.กองสาธารณสุขอบต.เขาตูม 11.นางสาวรอปีซะ  มะมิง  อบต.ตะลุโบะ
        6.นางประภัสสร ขวัญกะโผะ  ปลัดอบต.นาเกตุ          12.นายแวอิลยัส  อีบุ๊      ผอ.รพ.สต.เมาะมาวี ประธาน นายรอมซี  สาและ เริ่มประชุมเวลา  09.30 น.
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ                     1.1 การดำเนินโครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี ปี 2560
มีทั้งหมด 4 กิจกรรมหลัก คือ
    1. ประชุม พัฒนา ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับจังหวัดปัตตานี
        ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 60 ณ ห้องประชุมสสจ.ปัตตานี         ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 60 ณ ห้องประชุมสสจ.ปัตตานี
    2. พี่เลี้ยงลงเยี่ยมสนับสนุนและติดตามกองทุนสุขภาพตำบล ดังต่อไปนี้ วัน เดือน ปี พื้นที่ที่ลงเยี่ยม/ทีมพี่เลี้ยง 8 พ.ค. 60 อำเภอเมืองปัตตานี 7 แห่ง คืออบต.กะมิยอ, คลองมานิง, ตันหยงลุโละ, บานา, บาราโหม, บาราเฮาะ,
และทต,รูสะมิแล
โดยพี่เลี้ยงนายอับดุลกอเดร์ การีนากับนายรอมซี สาและ 9 พ.ค. 60 อำเภอหนองจิก 13 แห่ง คือ อบต.เกาะเปาะ, คอลอตันหยง, ดอนรัก, ยาบี, ดาโต๊ะ, ตุยง, ท่ากำชำ, ทต.บ่อทอง, บางเขา, บางตาวา, ปุโละปุโย, ลิปะสะโง, ทต,หนองจิก
โดยพี่เลี้ยงนายมะรอกี เวาะเล็ง,นายแวฮาซัน โตะฮิเล,นายอับดุลกอเดร์ การีนา,นายรอมซี สาและ และนางประภัสสร  ขวัญกะโผะ 19 พ.ค. 60 ในเขตอำเภอหนองจิก ครั้งที่ 2 จำนวน 13 แห่ง คืออบต.เกาะเปาะ, คอลอตันหยง, ดอนรัก, ยาบี, ดาโต๊ะ, ตุยง, ท่ากำชำ, ทต.บ่อทอง, บางเขา, บางตาวา, ปุโละปุโย, ลิปะสะโง และทต.หนองจิก โดยพี่เลี้ยงนายมะรอกี เวาะเล็ง, นายอับดุลกอเดร์ การีนา และนายรอมซี สาและ 25 พ.ค. 60 อำเภอทุ่งยางแดง 4 แห่ง คืออบต.ตะโละแมะนา, น้ำดำ, ปากู และพิเทน
โดยพี่เลี้ยงนายรอมซี และนายอับดุลกอเดร์ การีนา
25 พ.ค. 60 อำเภอโคกโพธิ์ 14 แห่ง คืออบต.ควนโนรี, ทรายขาว, ทุ่งพลา, ทต.นาประดู่, นาประดู่, ปากล่อ, ท่าเรือ, ทต.โคกโพธิ์, โคกโพธิ์, ช้างให้ตก, นาเกตุ, บางโกระ, ป่าบอน และมะกรูด
โดยพี่เลี้ยงนายประสพพร  สังข์ทอง และนางประภัสสร  ขวัญกะโผะ 6 มิ.ย. 60 อำเภอมายอ 11 แห่งคืออบต.กระเสาะ, เกาะจัน, ตรัง, ลุโบะยิไร, ปะโด, กระหวะ, ทต.มายอ, ลางา, ถนน, สะกำ และสาคอบน
โดยพี่เลี้ยงนายอับดุลตอเละ จะปะกียา, นายแวอิลยัส  อีบุ๊, นายการียา ยือแร,นายรอมซี สาและ
และนายอับดุลกอเดร์ การีนา
8 มิ.ย. 60 อำเภอสายบุรี,ไม้แก่น และกะพ้อจำนวน 16 แห่ง คืออบต.กะดุนง, ทต.เตราะบอน, มะนังดาลำ, ละหาร, ตะบิ้ง, บางเก่า, บือเระ, ปะเสยะวอ, ท.เมืองตะลุบัน, แป้น, ดอนทราย, ตะโละไกรทอง, ไทรทอง, กะรุบี, ตะโละดือรามัน และปล่องหอย, โดยพี่เลี้ยงนายอับดุลกอเดร์ การีนา, นายรอมซี  สาและ,นายอดุลย์ มามะ, นายศราวุธ วิชิตนันท์,
นางเต็มดวง  วงศา, น.ส.ซาลีนา  กอเสง และนางประภัสสร ขวัญกะโผะ 9 มิ.ย. 60 อำเภอทุ่งยางแดง ตำบลปากู จ.ปัตตานี ครั้งที่ 2
โดยพี่เลี้ยงนายรอมซี สาและ 12 มิ.ย. 60 อำเภอปะนาเระ จำนวน 10 แห่ง คืออบต.ควน, คอกกระบือ, ดอน, ท่าข้าม, ท่าน้ำ, บ้านกลาง, บ้านนอก, บ้านน้ำบ่อ, ทต.ปะนาเระ และทต.พ่อมิ่ง
โดยพี่เลี้ยงนายรอมซี สาและ, นายอับดุลกอเดร์ การีนา และนางสาวอาซีซะ กาเรง 13 มิ.ย. 60 อำเภอยะหริ่ง จำนวน 18 แห่ง คืออบต.จะรัง, ทต.ตอหลัง, ตาแกะ, ตาลีอายร์, ทต.บางปู, ปิยามุมัง, ยามู, ทต.ยะหริ่ง, ราตาปันยัง, ตะโละ, ตะโละกาโปร์, ทต.ตันหยง, ตันหยงดาลอ, บาโลย, ทต.มะนังยง, สาบัน, หนองแรต และแหลมโพธิ์
โดยพี่เลี้ยงนางวรรณพร บัวสุวรรณ, นายอาแว ลือโมะ,นายรอมซี สาและ, นายอับดุลกอเดร์ การีนา 14 มิ.ย. 60 อำเภอแม่ลาน จำนวน 3 แห่งคืออบต.ป่าไร่ อบต.ม่วงเตี้ย, อบต.แม่ลาน
โดยพี่เลี้ยงนายรอมซี สาและ, นายอับดุลกอเดร์ การีนา
15 มิ.ย. 60 อำเภอยะรัง จำนวน 13 แห่ง คืออบต.กระโด, กอลำ, เขาตูม, คลองใหม่, ปิตูมุดี, เมาะมาวี, วัด, ประจัน, ยะรัง, ทต.ยะรัง, ระแว้ง, สะดาวา และสะนอ
โดยพี่เลี้ยงนายการียายือแร, นายแวอิลยัส  อีบุ๊, นายอับดุลตอเละ จะปะกียา, นายมะรอกี เวาะเล็ง, นายรอมซี สาและ และนายอับดุลกอเดร์ การีนา
    3. สรุปผลการเยี่ยมติดตามกองทุนของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด(Coaching team)
        วันนี้ที่ 5 ก.ย. 60 ณ ห้องประชุมสสจ.ปัตตานี
        หลังจากที่พี่เลี้ยงลงเยี่ยมติดตามจะต้องบันทึกการติดตามของพี่เลี้ยงผ่านโปรแกรม โดยใช้ Username/Password ของตนเอง http://localfund.happynetwork.org/project/trainer/730 โดยต้องระบุรายละเอียดตั้งแต่ชื่อกองทุน ชื่อผู้ที่ติดต่อของกองทุน เบอร์มือถือ รายละเอียดการติดตาม ผลการติดตาม (ประมาณ 6 – 8 บรรทัด) วันที่ติดตาม ตัวอย่างการลงบันทึกของพี่เลี้ยง นายรอมซี สาและ วันที่ลงเยี่ยม 25 พ.ค. 60 กองทุน : กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา ชื่อผู้ติดต่อ : นายนพดล ดอเลาะ ตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน 0810921320 ผลการติดตาม :
                1.มีแผนปฏิบัติงานกองทุนฯ ที่เกิดจากการทำประชาคม จากกลุ่มคนหลายภาคส่วน มีแผนงาน/โครงการ ปี 60 ทั้งหมด 11 โครงการ ใช้เงินทั้งสิ้น 356,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 49.39 ของงบประมาณทั้งหมด สรุปคือ ซึ่งมีการใช้เงินยังน้อยอยู่มาก จึงได้แนะนำให้ปรับแก้ไขแผนงานและประชาสัมพันธ์เปิดให้มีการเสนอโครงการเกี่ยวกับสุขภาวะเข้ามาจากกลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆที่มีในชุมชนให้ขอจากกองทุนมากขึ้น ให้เหลืองบประมาณร้อยละ10ของเงินทั้งหมด งบ7(4)ใช้ไป20,000บาทไม่เกินร้อยละ15ของงบปี60 งบ7(3)ใช้ไป30,000บาทร้อยละ4.16ของงบทั้งหมดแนะนำให้เพิ่มวงเงินตามเป้าหมายร้อยละ15-30 และงบ7(5)ยังไม่มีการอนุมัติในหลักการ แนะนำให้ตั้งไว้ร้อยละ 5-10 ของงบประมาณปี60                 2.การบริหารจัดการกองทุน   -มีการประชุมแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธ.ค 59, ครั้งที่ 2 วันที่ 2 ก.พ.60 และครั้งที่ 3 วันที่ 17 พ.ค.60 มีการบันทึกวาระการประชุม บรรยากาศมีการนำเสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาอนุมัติทั้ง11โครงการ                 3.การบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมhttp://www.localfund.happynetwork.org พบว่ามีการบันทึกข้อมูลในส่วนของข้อมูลทั่วไปได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ มีการบันทึกโครงการทุกโครงการที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารฯแต่ยังไม่ได้บันทึกการทำTOR,ยังไม่บันทึกรายละเอียดกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย และมีการบันทึกการเบิกจ่ายไปแล้วในบางโครงการ
      4. ถอดบทเรียนทั้งระบบการใช้พี่เลี้ยงระดับจังหวัด(Coaching team)ต่อการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล มีการกำหนดจะจัดกิจกรรมวันที่ 27 กันยายน 2560 ณ โรงแรมในจังหวัดปัตตานี โดยกำหนดและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งหมด 42 คน ดังต่อไปนี้           - ส่วนท้องถิ่นระดับอำเภอ จำนวน 3 คน ได้แก่ท้องถิ่นยะรัง ไม้แก่น และหนองจิก           - ที่ปรึกษากองทุน(สาธารณสุขอำเภอ) จำนวน 3 คน ได้แก่สสอ.โคกโพธิ์ เมือง และแม่ลาน           - เลขากองทุนฯ จำนวน 9 คน ได้แก่อบต.ยะรัง ทม.เมืองปัตตานี ท่าข้าม สะกำ แหลมโพธิ์ แม่ลาน ปุโละปูโย ทต.ยะหริ่ง สาบัน           - ประธานกองทุนฯ จำนวน 3 คน ได้แก่ อบต.ยะรัง นาประดู่ และดอนรัก           - ผอ.รพ.สต. จำนวน 3 คน ได้แก่ ละหาร บ่อทอง และควน           - ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ จำนวน 3 คน ได้แก่ สาคอบน อบต.นาประดู่ และปล่องหอย           - พี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 18 คน                   1.2 ชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องงบประมาณตามโครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี ปี 2560  ดังต่อไปนี้ งวดสำหรับการทำรายงาน งวด วันที่งวดโครงการ วันที่งวดรายงาน
งบประมาณ(บาท) จากวันที่ ถึงวันที่ จากวันที่ ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2560 14 มี.ค. 2560 13,500.00 2 15 มี.ค. 2560 27 ก.ค. 2560 63,000.00 3 28 ก.ค. 2560 29 ก.ย. 2560 13,500.00 รวมงบประมาณ 90,000.00 วิธีการแบ่งจ่าย
สปสช.จะโอนทั้งหมด 3 งวด ซึ่งโอนมาแล้ว 2 งวด เหลืออีก 1 งวด รวมที่โอนมาแล้วงบประมาณ 76,500 บาท
เราจะแบ่งงบประมาณทั้งหมด 3 ส่วน
    ส่วนที่ 1 ค่าบริหารจัดการต่างๆ เช่น รายการหักค่าประกันวงเงิน,ภาษี,หักค่าอาหาร/อาหารว่างเวลานัดคุยประชุมทีม และอื่นๆ     ส่วนที่ 2 เป็นค่าตอบแทนพี่เลี้ยง(โดยคำนวณคร่าวๆจากการลงติดตามเยี่ยมกองทุนที่รับผิดชอบ)     ส่วนที่ 3 เราจะเก็บไว้ใช้งานจำนวนหนึ่งในกรณีจำเป็นที่ต้องทดรองจ่ายของปีหน้า ปี61 มติที่ประชุม.........รับทราบ......... ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว       ไม่มี ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อทราบ                   3.1 ทบทวนเป้าหมาย/ตัวชี้วัดกองทุนปี60 บทบาทพี่เลี้ยง ทักษะที่จำเป็นสำหรับพี่เลี้ยง เป้าหมาย ตัวชี้วัด การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ •บริหารเงินคงเหลือเงินไม่เกิน 10% (ไม่เกิน 80 ลบ.จาก 770 ลบ.)เกิดทีมพี่เลี้ยง(Coaching) จังหวัดละ 70 คน • เกิดระบบติดตามกองทุนสุขภาพตำบล Online (www.localfund.happynetwork.org) นวัตกรรมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ • เกิดวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของกองทุนสุขภาพตำบล นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ • กองทุนสุขภาพตำบลจัดทำนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพผ่านเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ 45 แห่ง     ทบทวนบทบาทพี่เลี้ยงระดับจังหวัด
ทำงานร่วมกับกรรมการกองทุนฯ 1.จัดทำแผนงานกองทุน 3-5 ปี
2.พัฒนา ปรับปรุง คุณภาพโครงการกองทุนฯให้การสนับสนุน 3.ติดตาม ประเมินผลโดยใช้โปรแกรมผ่านเว็บไซต์ ทักษะของพี่เลี้ยง     1. ความเข้าใจระเบียบบริหารกองทุน ฯ ปี 2557
    2. การวินิจฉัยข้อหารือเกี่ยวกับกองทุนฯ     3. แนวคิดด้านสุขภาวะ การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค     4. การจัดทำแผนงานกองทุน
    5. การทำโครงการในประเด็นสำคัญ(ปัจจัยกำหนดสุขภาพ :SDH)     6. การประสานงาน-ให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง มติที่ประชุม.........รับทราบ......... ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา 4.1 สถานการณ์กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในเขตจังหวัดปัตตานี ปี 60 ตารางที่ 1 แสดงรายงานสรุปจำนวนเงินสนับสนุนโครงการ และงบคงเหลือของกองทุน อำเภอ ยอดเงินคงเหลือ รายรับ รวมยอดเงินทั้งหมด งบประมาณโครงการ คงเหลือ สัดส่วนการใช้ สัดส่วนการใช้เทียบ ยกมา เทียบกับรายรับ(%) กับเงินทั้งหมด(%) 1.กะพ้อ 1,908,931.13 1,162,902.08 3,071,833.21 1,474,565 1,597,268.21 126.80 48.00 2.โคกโพธิ์ 6,121,769.21 4,997,987.35 11,119,756.56 5,475,659 5,644,097.56 109.56 49.24 3.ทุ่งยางแดง 2,223,182.37 1,661,363.34 3,884,545.71 1,635,630 2,248,915.71 98.45 42.11 4.ปะนาเระ 1,345,889.46 3,156,768.91 4,502,658.37 3,864,820 637,838.37 122.43 85.83 5.มายอ 3,614,003.24 3,749,081.38 7,363,084.62 3,526,295 3,836,789.62 94.06 47.89 6.เมืองปัตตานี 12,458,731.73 9,413,672.74 21,872,404.47 7,516,483 14,355,921.47 79.85 34.37 7.แม่ลาน 406,134.41 1,044,752.21 1,450,886.62 1,112,281 338,605.62 106.46 76.66 8.ไม้แก่น 907,021.92 931,260.74 1,838,282.66 884,098 954,184.66 94.94 48.09 9.ยะรัง 3,707,387.57 6,253,671.63 9,961,059.20 5,698,487 4,262,572.20 91.12 57.21 10.ยะหริ่ง 5,466,504.45 4,965,804.55 10,432,309.00 6,359,214 4,073,095.00 128.06 60.96 11.สายบุรี 10,458,493.22 4,656,630.05 15,115,123.27 4,677,722 10,437,401.27 100.45 30.95 12.หนองจิก 4,716,869.36 5,144,721.57 9,861,590.93 6,474,134 3,387,456.93 125.84 65.65 รวมทั้งหมด 53,334,918.07 47,138,616.55 100,473,534.62 48,699,388 51,774,146.62 103.31 48.47 จากตารางที่ 1 กองทุนสุขภาพตำบลในจังหวัดปัตตานี สนับสนุนโครงการแล้ว 48.6 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 103.31 % ของรายรับปี 60 (47 ล้านบาท) อำเภอที่มีการสนับสนุนโครงการมากที่สุดคือ ยะหริ่ง กะพ้อ และหนองจิก
แต่เมื่อรวมยอดเงินทั้งหมด(100ล้านบาท) สัดส่วนการสนับสนุนโครงการทั้งหมด เท่ากับร้อยละ 48.47 อำเภอที่มีการสนับสนุนมากที่สุดคือ ปะนาเระ  แม่ลาน และหนองจิกตามลำดับ ตารางที่ 2 แสดงรายงานสรุปเงินคงเหลือ และสัดส่วนการใช้จ่ายของกองทุนภาพรวมการเบิกเงิน(ทำฎีกา) ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล รายอำเภอ อำเภอ ยอดเงินคงเหลือยกมา รายรับทั้งหมด รายจ่าย เงินคงเหลือ สัดส่วนการใช้เทียบกับรายรับ(%) สัดส่วนการใช้เทียบกับเงินทั้งหมด(%) 1.กะพ้อ 1,908,931.13 1,161,631.94 1,317,770.00 1,752,793.07 113.44 (1) 42.92 2.โคกโพธิ์ 6,121,769.21 4,974,635.62 4,086,713.00 7,009,691.83 82.15 36.83 3.ทุ่งยางแดง 2,223,182.37 1,664,838.34 996,657.00 2,891,363.71 59.87 25.63 4.ปะนาเระ 1,345,889.46 3,184,468.91 2,584,341.00 1,946,017.37 81.15 57.04 (1) 5.มายอ 3,614,003.24 3,749,496.51 2,143,980.00 5,219,519.75 57.18 29.12 6.เมืองปัตตานี 12,458,731.73 9,464,554.74 6,684,313.00 15,238,973.47 70.62 30.49 7.แม่ลาน 406,134.41 1,044,752.21 681,683.00 769,203.62 65.25 46.98 (3) 8.ไม้แก่น 907,021.92 931,260.74 591,238.00 1,247,044.66 63.49 32.16 9.ยะรัง 3,707,387.57 5,988,875.93 3,919,756.00 5,776,507.50 65.45 40.43 10.ยะหริ่ง 5,466,504.45 4,985,570.44 4,266,265.00 6,185,809.89 85.57 (3) 40.82 11.สายบุรี 10,458,493.22 4,704,480.30 2,613,436.00 12,549,537.52 55.55 17.24 12.หนองจิก 4,716,869.36 5,180,421.57 4,818,009.00 5,079,281.93 93 (2) 48.68 (2) รวมทั้งหมด 53,334,918.07 47,034,987.25 34,704,161.00 65,665,744.32 73.78 34.58               จากตารางที่ 2 ออกฎีกาเบิกเงินแล้ว 34.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 73.78 ของรายรับปี 60 อำเภอที่มีการเบิกมากที่สุด คือ กะพ้อ หนองจิก และยะหริ่ง แต่เมื่อรวมเงินคงเหลือสะสมจากปีก่อน (53 ล้านบาท) อัตราการเบิกเงินภาพรวมจังหวัด เท่ากับร้อยละ 34.58 อำเภอที่มีการเบิกมากที่สุดคือปะนาเระ หนองจิก และแม่ลานตามลำดับ               4.2 ปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องพัฒนา คือ
                    4.2.1 เงินคงเหลือในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่เป็นจำนวนมาก ข้อมูล ณ กันยายน 2560 มีเงินคงเหลือ 51 ล้านบาท รับโอนเงินเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัวประชากรปี61 จำนวน 31 ล้านบาท หากยังไม่นับรวมการโอนเงินสมทบเข้ากองทุนฯขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วน จะทำให้มีเงินค้างท่อในระบบจำนวนมาก
                          วิเคราะห์สาเหตุ                               1) กลัวการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายนอก เช่น สตง. เป็นต้น                               2) ศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนที่ขาดความรู้และเข้าใจ ตลอดจนประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่
                    4.2.2 คุณภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ยังขาดการพัฒนาคุณภาพกองทุนฯ ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการลงติดตามเยี่ยมของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด มีกองทุนฯหลายแห่งยังไม่มีแผนสุขภาพ หรือกรอบแผนงานด้านสุขภาพของพื้นที่ ส่งผลให้การตัดสินใจใช้เงินไม่มีทิศทาง และขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆของชุมชน การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ดังนั้น จึงเป็นโจทย์สำคัญของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่
              4.3 จุดเด่น                   4.3.1 การมีพื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล เช่น ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ หรือกองทุนสุขภาพตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง พื้นที่เหล่านี้จะสร้างเครื่องมือที่หลากหลาย มีการใช้ประโยชน์ในพิจารณาการคัดกรองโครงการจากเครือข่ายในพื้นที่                   4.3.2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา ได้มีการพัฒนาโปรแกรมระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้ออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางทางสื่อสารผ่านเว็บไซต์ (โปรแกรมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลแบบออนไลน์เดิมมีข้อจากัด) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่กองทุน และสามารถกำกับติดตาม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสุขภาพตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ                   4.3.3 มีระบบติดตามโดยพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วน (coaching team) ประจำกองทุนฯเพื่อสนับสนุนการทางานของกองทุนสุขภาพตำบล
              4.4 จุดอ่อน                   4.4.1 การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ถูกทำให้กลายเป็นตัวบุคคลมากเกินไป ขาดการจัดวางระบบการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ส่งผลให้เวลาคนย้าย การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่จะหยุดชะงักหรือไม่ดี                   4.4.2 คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ขาดความเข้าใจเรื่อง บทบาทและระเบียบกองทุน ดังนั้น ควรมีกลไกทำความเข้าใจแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในระดับอำเภอ                   4.4.3 กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่มีปัญหา 2 เรื่อง คือ 1) ใช้ไม่ได้ ไม่เป็นไปตามระเบียบ 2) ใช้ไม่เป็น ขาดความสามารถจัดทำชุดโครงการ                   4.4.4 ระเบียบทางการเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับพื้นที่ซึ่งรับเงินสนับสนุนโครงการด้านสุขภาพเพื่อจัดบริการสุขภาพ การรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูโรคผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้จ่ายงบประมาณ เช่น โครงการฯต้องผ่านการเห็นชอบจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ การไม่สามารถเปิดบัญชีแยกของ รพ.สต.ในการรับเงินสนับสนุนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ส่งผลให้ข้อมูลเงินบำรุงของ รพ.สต.สูงกว่าความเป็นจริง                   4.4.5 การเริ่มต้นดำเนินงานกองทุนล่าช้ามาก กว่าจะได้เริ่มขับเคลื่อนจนถึงปลายไตรมาส 2 (กุมภาพันธ์ –มีนาคม)หน่วยบริการในพื้นที่ขอรับการสนับสนุนล่าช้า ทำให้ประชาชนขาดโอกาส
              4.5 โอกาส                   4.5.1 ควรจัดทำแผนที่ทางเดินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (mapping) ให้สามารถสถานการณ์ปัญหา เห็นตัวอย่างหรือนวตกรรม พื้นที่ต้นแบบ ตัวบุคคลหรือ เครือข่าย ตลอดจนแหล่งงบประมาณ และนำข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมาจัดลำดับความสำคัญ (priority) ของปัญหากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ และจัดทำทางเดินยุทธศาสตร์พัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (Roadmap)                   4.5.2 พื้นทีตำบลจะมีหลายองค์กรและหลายเครื่องมือมาทำงานด้านสุขภาวะชุมชน เช่น DHML –สำนักงานสาธารณสุข CHIA,ธรรมนูญสุขภาพ-สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตำบลจัดการสุขภาพ-สำนักงานวิชาการอนามัย กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ –การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง(LTC)-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ดังนั้นควรหาช่องทางบูรณาการเข้าด้วยกันหรือ แยกกันทำงานเพื่อป้องกันหรือลดการทำงานซ้ำซ้อน 4.6.ภาวะคุกคาม
                4.6.1 ปัจจัยวัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เช่น การทำโครงการที่เป็นการสร้างคะแนนเสียงหรือฐานเสียงของผู้บริหารส่วนท้องถิ่น อันมีผลต่อความสอดคล้องของการใช้เงินกับระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่                 4.6.2 ระเบียบทางการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ส่งผลให้การบริหารงานและเงิน ยุ่งยาก โดยเฉพาะการให้เงินสนับสนุนกับกลุ่มหรือองค์กรประชาชน บางแห่งต้องการคืนและไม่อยากรับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่                 4.6.3 การยกเลิกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับจังหวัด ซึ่งมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นตัวจักรสำคัญ ส่งผลให้การกำกับติดตาม และเชื่อมประสานงานระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กับ สปสช. มติที่ประชุม.........รับทราบและถือปฏิบัติ......... ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ       ไม่มี เลิกประชุม เวลา 13.30 น. ผู้จดรายงาน     ผู้ตรวจสอบ (นายนายรอมซี  สาและ)     (นายแวฮาซัน  โต๊ะฮีเล) ตำแหน่ง เลขาฯพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ     ตำแหน่ง ประธานพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย