กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการศึกษา พบว่า ถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ไม่พบแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด ตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๒๒ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๙ และถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ พบผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมจำนวน ๑๑ แผง คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖๖ โดยขนาดการใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ส่วนใหญ่เป็นประเภทกล่อง ขนาด ๕ × ๗ เซนติเมตร ร้อยละ ๒๑.๐๑ รูปแบบการใช้ประโยชน์ในการบรรจุอาหาร ในขณะร้อน (อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ขนม เป็นต้น) จำนวน ๒๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๖ และบรรจุอาหารในขณะเย็น (ข้าวราดแกง ผลไม้ ขนมต่างๆ เป็นต้น) จำนวน ๑๐ แผง คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ ปริมาณที่ใช้เฉลี่ยต่อวัน ส่วนใหญ่ มากกว่า ๑๕ ชิ้น/วันจำนวน ๑๓ แผง คิดเป็นร้อยละ ๙.๔๒ ราคาหน่วยของภาชนะโฟม โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ ๔๕ บาท/๑๐๐ ชิ้น และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท โฟม คือ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๒ รองลงมาคือ ความสะดวกและน้ำหนักเบา คิดเป็นร้อยละ ๗.๒๕ และ ๓.๖๒ ตามลำดับ
- ความรู้ ทัศนคติ ของผู้ประกอบการในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โฟมในการบรรจุอาหาร ผลการสอบถามความรู้ต่อการลดใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าส่วนใหญ่แล้วมีความรู้ในการเลือกใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมแล้วตอบถูก ร้อยละ ๗๒.๒๖ จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกถึงการที่มีความรู้และใส่ใจต่อการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมมากว่าภาชนะโฟมเมื่อนำมาบรรจุอาหารจะทำให้เกิดพิษภัยได้และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาข้อมูล ทัศนคติ ของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากตารางที่ ๓ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ ๑) การได้รับความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร พบว่าผู้จำหน่าย อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ เคยได้รับความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๘๖  รองลงมาคือกลุ่มผู้จำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๖๗ ๒) ความเห็น ในกรณีต้องเลิกใช้ บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่าย อาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑ ๓) ในกรณีที่มีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิกการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมบรรจุอาหาร ท่านยินดีให้ ความร่วมมือหรือไม่ พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) และแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่า ยินดีให้ความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๑ ๔) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า บรรจุภัณฑ์อื่นที่สามารถ ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมนั้นมีราคาแพง จำนวน ๑๑๖ แผง คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๖ รองลงมา คือ บรรจุสินค้าลำบาก จำนวน ๑๔ แผง คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๔ และ หาซื้อได้ยาก จำนวน ๘ แผง คิดเป็นร้อยละ ๕.๘๐ การประเมินผล ๑. ปริมาณการใช้โฟมในกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับก่อนดำเนินการ หลังจากมีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟม และให้ความรู้ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอาหาร ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท      โฟมคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๔๐ โดยบริเวณงานหาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ บริเวณตลาดนัดอาเชี่ยนพลาซ่า ผู้ประกอบการมีการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมลดลง จากเดิมร้อยละ ๕๗.๘๙ เป็น ร้อยละ ๓๖.๘๕ และบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑ จากเดิมใช้บรรจุภัณฑ์โฟม ร้อยละ ๓๖.๖๖ ลดลง เป็นร้อยละ ๖.๖๗ ๒. มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๘๐ %         มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๒๐๐ คน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คิดเป็น ๑๐๐ %

การดำเนินงานในอนาคต
ควรดำเนินการรณรงค์ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม ให้ครอบคลุมทั้งเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และตรวจแนะนำสถานที่จำหน่ายอาหารในเขตเทศบาล  ได้แก่  ร้านอาหาร  แผงลอย  โรงอาหารในโรงเรียน โรงครัวในโรงพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองสุขภาพตนเองและบุคคลข้างเคียงให้ครอบคลุมทุกชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร

 

2 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม
ตัวชี้วัด : รณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม

 

3 เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร (2) เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม (3) เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh