กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ ”
ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร




ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ



บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ สาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากการมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยาอาจทำให้ยามีผลต่อผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไต ทำงานได้น้อยลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลง อาจมีอาการสับสนได้ จึงมักเจอปัญหาจากการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ ที่ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 2.) เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง 3.) เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา พบว่า พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษสาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยามีผลต่อกันผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไตทำงานได้ลดลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลงอาจมีอาการสับสนได้ จากการใช้ยาที่คนหนุ่มสาวกินแล้วไม่เป็นอะไรปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ อาจเนื่องจากปัญหาด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปพบแพทย์ได้
พื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านอุไร ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีผู้สูงอายุจำนวน 80 คน กลุ่มติดสังคมจำนวน 69 คน กลุ่มติดบ้านจำนวน 6 คน และกลุ่มติดเตียงจำนวน 5 คน จากการลงเยี่ยมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีผู้สูงอายุจำนวน 51 หลังคาเรือน พบปัญหาเรื่องการกินยา โดยพบว่ามีผู้สูงอายุกินยาผิดจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 มียาเก่าสะสมยาใหม่จำนวน25 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 กินยาเองไม่มีใครดูแลจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10 โดยบางครัวเรือนมีลูกหรือญาติคอยกำกับการกินยาจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 55.0 และมีผู้สูงอายุที่กินยาเองไม่มีใครดูแล(สามี -ภรรยา) จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 35.0 ซึ่งอันตรายต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุได้รับอันตรายจากการใช้ยา เช่น การทำงานของไตประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลงดังนั้นการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ย่อมลดน้อยลง ทำให้มีโอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ การทำงานของตับ ยาที่ให้โดยการรับประทาน มักจะผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกที่ตับ แต่ถ้าขบวนการเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพ จะทำให้มีระดับยาในเลือดสูง จนอาจเกิดอันตรายได้ ความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการทำงานของ หลอดเลือดและหัวใจ ผู้สูงอายุมักจะมีความไว ต่อยาที่ออกฤทธิ์ในบริเวณดังกล่าว อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้นได้ เช่นอาการแพ้ยา ความจำของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย มักเกิดปัญหาการใช้ยาไม่ครบตามที่กำหนด หรือปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งอาจส่งผลทำให้เชื้อดื้อยา การรักษาจึงไม่หายเสียที หรือเกิดอาการเป็นพิษ เนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดได้
น้ำหนักผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักน้อย หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ จำเป็นต้องพิจารณาขนาดยาให้เหมาะสมโรคในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักเป็นหลายโรค ซึ่งอาจต้องพบแพทย์หลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับยาซ้ำซ้อน จึงอาจได้รับยาเกินขนาดได้
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในเรื่องการกินยา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุเพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนแล้วให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ พร้อมทั้งสาธิต/แนะนำวิธีการใช้ตะกร้าใส่ยา แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับผู้สูงอายุให้ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองจากนั้นลงเยี่ยมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
  2. 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง
  3. 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
  2. กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ
  3. กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร
  4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ
  5. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ขั้นเตรียมการ 1.1เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง 2.1 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้
  2. ขั้นดำเนินงานตามกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 1.1 ออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ พฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 1.2 ลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล 1.3 คืนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน กิจกรรมที่ 2อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ 2.1 เรื่องหลักการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ 2.2 เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อยและกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงและควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ 2.3 เรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ 2.4 สาธิต/แนะนำวิธีการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับผู้สูงอายุทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร 3.1 ติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย 3.2 แนะนำ ให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ 4.1 อาสาสมัครสาธารณสุขติดตามและประเมินผลการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

วันที่ 1 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.1 ออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ พฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

1.2 ลงพื้นที่ในชุมชน เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชนพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล

1.3 คืนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยติดสังคม จำนวน 69 คน ร้อยละ 86.25 เป็นเพศหญิง จำนวน 48 คน ร้อยละ 60 เพศชาย จำนวน 32 คน ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 36 คน ร้อยละ 45 และมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากที่สุด อยู่ในช่วงอายุ 90-99 ปี จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.25 เมื่อจำแนกตามสถานภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรส จำนวน 56 คน ร้อยละ 70 โดยส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน จำนวน 67 คน ร้อยละ 83.75 มีรายได้ อยู่ในช่วง 601-800 บาท จำนวน 40 คน ร้อยละ 50 ซึ่งรายได้ของผู้สูงอายุ ในแต่ละเดือนได้มาจาก เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในชุมชน ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีจำนวน 38 คน ร้อยละ 47.50 และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จำนวน 42 คน ซึ่งผู้สูงอายุบางคนเป็นมากกว่า 1 โรค โดยส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิต จำนวน 34 คน ร้อยละ 61.82 รองลงมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 8 คน ร้อยละ 14.55  และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา โดยลักษณะคำตอบเป็นพฤติกรรมการใช้ยา 2 ระดับ คือ ใช่และไม่ใช่ ซึ่งจากการแปลผลการสำรวจ คะแนนเฉลี่ย 0-3 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 4-7 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 8-11 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดี ซึ่งพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48

 

80 0

2. กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินของผู้สูงอายุ

วันที่ 26 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมการอบรม

1.1 เรื่องหลักการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ

1.2เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อยและกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงและควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ

1.3เรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียง จากการใช้ยาในผู้สูงอายุ

1.4 แนะนำวิธีการใช้ตะกร้า ให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลทดลองจัดและหยิบยากินเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การกินยาในผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง จากการแปลผล คะแนน 0-3 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง คะแนน 4-6 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง คะแนน 7-10 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับดี พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 รองลงมาอยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 17.70 และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 12.39 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 รองลงมาอยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง ร้อยละ 23.01 จากการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในการสาธิตการใช้ตะกร้ายา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ตะกร้าใส่ยา ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองได้

 

113 0

3. กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

วันที่ 1 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.1 เยี่ยมติดตามโดย อสม./จนท./เภสัชกร

1.2 บันทึกการเยี่ยมตามแบบฟอร์มการเยี่ยม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

80 0

4. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ

วันที่ 1 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.1 ตรวจสอบการกินยาของผู้สูงอายุโดย อสม.

1.2 สุ่มตรวจโดยเภสัชกรโรงพยาบาลละงู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ

    จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยหลังจากที่เข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาทุกคน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและถือปฏิบัติทุกครั้ง คือ การตรวจสอบชื่อ-สกุล บนซองยาก่อนรับประทานยา การตรวจสอบวิธีการใช้ยาและอ่านคำแนะนำก่อนรับประทานยา การเก็บรักษายาให้พ้นแสงในที่สะอาดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก และหากมีอาการผิดปกติจะแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ตลอดจนในบางพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติในทางที่ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การรับประทานยาตรงเวลาที่เภสัชกรแนะนำ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการ พบจำนวนที่มีผู้ปฏิบัติทุกครั้ง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 63.75 และหลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 74 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 การใส่ยาเก่าและยาใหม่อยู่รวมกัน พบจำนวนผู้ไม่ถือปฏิบัติก่อนทำโครงการ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และหลังเข้าร่วมโครงการพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน คิดเป็นร้อยละ 96.25 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

 

80 0

5. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

 

5 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยติดสังคม จำนวน 69 คน ร้อยละ 86.25 เป็นเพศหญิง จำนวน 48 คน ร้อยละ 60 เพศชาย จำนวน 32 คน ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 36 คน ร้อยละ 45 และมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากที่สุด อยู่ในช่วงอายุ 90-99 ปี จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.25 เมื่อจำแนกตามสถานภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรส จำนวน 56 คน ร้อยละ 70 โดยส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน จำนวน 67 คน ร้อยละ 83.75 มีรายได้ อยู่ในช่วง 601-800 บาท จำนวน 40 คน ร้อยละ 50 ซึ่งรายได้ของผู้สูงอายุ ในแต่ละเดือนได้มาจาก เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในชุมชน ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีจำนวน 38 คน ร้อยละ 47.50 และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จำนวน 42 คน ซึ่งผู้สูงอายุบางคนเป็นมากกว่า 1 โรค โดยส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิต จำนวน 34 คน ร้อยละ 61.82 รองลงมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 8 คน ร้อยละ 14.55 และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา โดยลักษณะคำตอบเป็นพฤติกรรมการใช้ยา 2 ระดับ คือ ใช่และไม่ใช่ ซึ่งจากการแปลผลการสำรวจ

คะแนนเฉลี่ย 0-3 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปรับปรุง

คะแนนเฉลี่ย 4-7 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย 8-11 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดี

พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48


กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การกินยาในผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง จากการแปลผล

คะแนน 0-3 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง

คะแนน 4-6 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง

คะแนน 7-10 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับดี

พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 รองลงมาอยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 17.70 และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 12.39 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 รองลงมาอยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง ร้อยละ 23.01 จากการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในการสาธิตการใช้ตะกร้ายา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ตะกร้าใส่ยา ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองได้


กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น



กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ

จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยหลังจากที่เข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาทุกคน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและถือปฏิบัติทุกครั้ง คือ การตรวจสอบชื่อ-สกุล บนซองยาก่อนรับประทานยา การตรวจสอบวิธีการใช้ยาและอ่านคำแนะนำก่อนรับประทานยา การเก็บรักษายาให้พ้นแสงในที่สะอาดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก และหากมีอาการผิดปกติจะแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ตลอดจนในบางพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติในทางที่ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การรับประทานยาตรงเวลาที่เภสัชกรแนะนำ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการ พบจำนวนที่มีผู้ปฏิบัติทุกครั้ง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 63.75 และหลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 74 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 การใส่ยาเก่าและยาใหม่อยู่รวมกัน พบจำนวนผู้ไม่ถือปฏิบัติก่อนทำโครงการ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และหลังเข้าร่วมโครงการพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน คิดเป็นร้อยละ 96.25 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี


ปัญหา / อุปสรรค (ระบุ)

  1. การขอสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานราชการไม่ได้รับความร่วมมือ
  2. คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรม
  3. ผู้ดูแลผู้สูงอายุบางราย ไม่ได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง


    แนวทางการแก้ไข (ระบุ)

1.อยากให้ชุมชนจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมในชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมการกินยา
100.00 100.00

 

2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง
ตัวชี้วัด : - ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
70.00 76.99

 

3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
70.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ สาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากการมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยาอาจทำให้ยามีผลต่อผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไต ทำงานได้น้อยลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลง อาจมีอาการสับสนได้ จึงมักเจอปัญหาจากการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ ที่ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 2.) เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง 3.) เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา พบว่า พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

1.การขอสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานราชการไม่ได้รับความร่วมมือ

2.คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรม

3.ผู้ดูแลผู้สูงอายุบางราย ไม่ได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง

 

1.อยากให้ชุมชนจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมในชุมชน


โครงการรณรงค์และให้ความรู้การใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด