กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย 1 มี.ค. 2561 27 มิ.ย. 2561

 

  1. ออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ในเวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนสิ้นโครงการ
  2. เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนมาร่วมออกกำลังกาย

 

ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 74.00 สำหรับกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ลดลงแต่เส้นรอบเอวลดลง หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงแต่เส้นรอบเอวไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.00 และกลุ่มผู้เข้าร่วมโรงการที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว ไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.00

 

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน 27 มิ.ย. 2561 27 มิ.ย. 2560

 

  1. วัดค่า BMI และวัดรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อนดำเนินโครงการ
  2. บรรยายเรื่องความสำคัญของการออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกาย
  3. สอน/สาธิต เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  4. สอน/สาธิต การออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน และการเต้น แอโรบิค

 

จากการประเมินผลการทดสอบ พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 48.93 แต่หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 85.00 ซึ่งคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ คำถามข้อที่ 5 บุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.00 เป็น ร้อยละ 90.00 รองลงมาคือ คำถามข้อที่ 8 ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรออกกำลังกายมากกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.00 เป็น ร้อยละ 85.00 และคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือคำถามข้อที่ 4 การออกกำลังกายทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนและเผาผลาญอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ 5.00

 

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล 5 ก.ค. 2561 27 มิ.ย. 2561

 

  1. ประชุมคณะกรรมการติดตามผล จำนวน 3 ครั้ง
  2. สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลังเข้าร่วมโครงการ
  3. ตรวจเช็คการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย

 

ผลการประเมินพบว่า จากการสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลัง เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

 

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 20 ส.ค. 2561 27 มิ.ย. 2561

 

  1. ติดตาม/แนะนำการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร เป็นต้น
  2. ประเมินค่า BMI และวัดรอบเอว สำหรับกลุ่มที่มีค่า BMI ไม่ลด
  3. จัดทำคู่มือในการบันทึกสุขภาพเป็นรายบุคคล

 

ผลการประเมินพบว่า จากการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร และควบคุมปริมาณอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

 

จัดทำรูปเล่มรายงาน 9 ก.ย. 2561 30 ก.ย. 2561

 

จัดจ้างทำรูปเล่มรายงาน

 

รูปเล่มรายงาน