กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน
จากการประเมินผลการทดสอบ พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 48.93 แต่หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในเรื่องของความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 85.00 ซึ่งคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ คำถามข้อที่ 5 บุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.00 เป็น ร้อยละ 90.00 รองลงมาคือ คำถามข้อที่ 8 ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรออกกำลังกายมากกว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.00 เป็น ร้อยละ 85.00 และคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือคำถามข้อที่ 4 การออกกำลังกายทำให้เกิดการใช้ออกซิเจนและเผาผลาญอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ 5.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย
ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 74.00 สำหรับกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ลดลงแต่เส้นรอบเอวลดลง หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงแต่เส้นรอบเอวไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.00 และกลุ่มผู้เข้าร่วมโรงการที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอว ไม่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผลการประเมินพบว่า จากการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร และควบคุมปริมาณอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล
ผลการประเมินพบว่า จากการสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลัง เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเส้นรอบเอวมีค่าลดลงคิดเป็นร้อยละ 80.00

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 60 สามารถลดค่า BMI และรอบเอวได้อย่างเหมาะสม
60.00 74.00

 

2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
80.00 85.00

 

3 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
80.00 80.00

 

4 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 50 ของประชาชนกลุ่มที่มีค่า BMI ไม่ลด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
50.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ภาวะโรคอ้วน เป็นปัยหาที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง และยังเป็นสาเหตุหลักของโรคภัยต่างๆ มากมาย หากไม่ได้รับการส่งเสริมและให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย อย่างถูกต้องก็จะกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถดูแลตนเองได้ ลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่นให้น้อยที่สุด โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน 100 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ดดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ คู่มืในการบันทึกสุขภาพ การฝึกปฏิบัติ การสังเกต และการติดตามผล นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญ และประโยชน์ของการออกกำลังกาย และเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพิ่มขึ้นหลังเข้ารับการอบรมมากกว่าร้อยละ 85 และผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว โดยค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของผู้เข้าร่วมโครงการมีค่าลดลง คิดเป็นร้อยละ 74.00 และกรณีที่ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวไม่ลด แต่หลังจากได้รับการแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจ โดยค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว มีค่าลดลง ร้อยละ 80.00 ที่สำคัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการนี้ในระดับมากที่สุด ถึงร้อยละ 92.00

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh