กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 06
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 15 กันยายน 2561
งบประมาณ 46,900.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. 1. ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป มีค่า BMI และรอบเอวเกิน (คน) ขนาด 150.00

ปัจจุบันสังคมของไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีตเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกกาลังกายเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้น การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การออกกำลังกายอาจจะอยู่ในรูปแบบของการเดิน-วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น
ซึ่งการเต้นโรบิคเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังทำให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคอีกด้วย ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง มีทั้งหมด 1,095 คน คนที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่ในชุมชนพบในเพศหญิง ซึ่งมีค่า BMI เกิน ประมาณ 150 คน และคนที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคปวดเมื่อย ปวดเข่า ร้อยละ 50 และโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ร้อยละ 15 จำเป็นอย่างยิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยให้มีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ โดยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการออกกำลังกายและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อีกด้วย จากปัญหาดังกล่าว ชมรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ปี ๒๕๖๑ ในครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พร้อมทั้งติดตาม ประเมินผลประชาชนในชุมชนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่ลดลง

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. 1. เพื่อให้ประชาชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ที่มีค่า BMI และรอบเอวเกิน ได้รับการแก้ไข
  2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจหลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
  3. 3. เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
  4. 4. เพื่อติดตามผลและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มที่ค่า BMI ไม่ลด
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการออกกำลังกาย
  2. กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน
  3. กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล
  4. กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  5. จัดทำรูปเล่มรายงาน
วิธีดำเนินการ
  1. ขั้นเตรียมการ

1.1 จัดประชุมเพื่อร่วมกันวางแผนงานการดำเนินงานโครงการ

1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง

1.3 ประสานงานติดต่อครู อาจารย์ ที่จะนำเต้นแอโรบิค

1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการให้บุคคลในชุมชนและบุคลากรโรงเรียน

2.ขั้นดำเนินงาน ตามกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (2 วัน)

  • วัดค่า BMI และวัดรอบเอวของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อนดำเนินโครงการ
  • บรรยายเรื่องความสำคัญของการออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกาย
  • สอน/สาธิต เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  • สอน/สาธิต การออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน และการเต้นแอโรบิค

    กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ ในเวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนสิ้นโครงการ

  • เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนมาร่วมออกกำลังกาย

กิจกรรมที่ 3 แก้ไขปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ที่มีค่า BMI ไม่ลดลง

  • ติดตาม/แนะนำการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ปรับเมนูอาหาร เป็นต้น
  • ประเมินค่า BMI และวัดรอบเอว สำหรับกลุ่มที่มีค่า BMI ไม่ลด

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล (2 เดือน/ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง)

  • สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน/ขณะ/หลังเข้าร่วมโครงการ

3.ขั้นสรุปผล

3.1 ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

  • โดยใช้แบบสอบทดสอบก่อน – หลัง อบรม

  • โดยใช้สอบถามความพึงพอใจ

  • โดยใช้แบบบันทึกการตรวจประเมินร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่า BMI และรอบเอวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้อื่นได้
    1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน และประโยชน์ของการออกกำลังกาย
    2. ประชาชนในชุมชนร่วมมือ ร่วมใจกันออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคกันอย่างต่อเนื่อง
    3. ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มที่มีค่า BMI และรอบเอวไม่ลด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม