กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข1 กรกฎาคม 2561
1
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 3 ตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ตรวจ/แนะนำ ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารแต่ละประเภทและโรงอาหารในโรงเรียน
- ทดสอบน้ำมันทอดซ้ำก่อน-หลังการใช้  จำนวน  3  ครั้งและกรณีร้านค้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจก็ดำเนินการลงตรวจซ้ำอีก
- น้ำมันที่เหลือจากการใช้แล้วเก็บรวบรวมจำหน่ายต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน