กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน ตารางที่ 1แสดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าตำบลระโนด ปี 2561ในชุมชน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้าน เป้าหมาย(คน) ผู้เข้าร่วมโครงการ (คน) คิดเป็นร้อยละ หมู่ 1 - 10  600        600          100 รวม      600        600          100

จากตารางที่ 1 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าใน 10 หมู่บ้านของตำบลท่าบอน ปี 2561 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 600 คน ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 600 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้นำชุมชน ประชาชน ในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้

ตารางที่ 2แสดงจำนวนร้อยละของแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง : โรคพิษสุนัขบ้า จากผู้เข้าร่วมโครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าตำบลระโนด ปี 2561ในชุมชน 10 หมู่บ้าน

จำนวนแบบสอบถาม (ข้อ) ก่อนให้ความรู้ (ร้อยละ) หลังให้ความรู้ (ร้อยละ) 15                    65.66        81.70

จากตารางที่ 2จำนวนร้อยละของแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง : โรคพิษสุนัขบ้า จากผู้เข้าร่วมโครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าตำบลท่าบอน    ปี 2561 ในชุมชน 10 หมู่บ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 600 คน ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้ได้ร้อยละ 65.66 ส่วนการทำหลังการให้ความรู้ได้ร้อยละ 81.70 แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 7.40


2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 แกนนำประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้องและรับผิดชอบ 2.2 แกนนำประชาชนเกิดความตระหนักถึงการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อสัมผัสโรค(ถูกสัตว์กัด)

3.จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 3.1 ผู้เข้าร่วมโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าใน 10 หมู่บ้านของตำบลท่าบอน ปี 2561 จำนวน 600 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้องและรับผิดชอบ
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
80.00 81.70

ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้ได้ร้อยละ 65.66 ส่วนการทำหลังการให้ความรู้ได้ร้อยละ 81.70 แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 7.40

2 ประชาชนเกิดความตระหนักถึงการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อสัมผัสโรค(ถูกสัตว์กัด)
ตัวชี้วัด : สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นในชุมชนขึ้นได้ตลอดปีงบประมาณ
20.00 20.00

 

3 ประชาชนมีความตื่นตัวและกระตุ้นให้มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการนำสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในความดูแลไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีการนำสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่ในความดูแลไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น
50.00 50.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 600 600
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะต้องตายทุกคน ซึ่งโรคนี้จะมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคนั้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้ และสัตว์ที่เป็นโรคก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้ โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน. ของทุกปี โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัด หรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าสัตว์ถูกกัดต้องรีบทำความสะอาดบาดแผลและไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนทันที ด้วยปณิธาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรไทย รวมถึงสรรพชีวิตภายใต้ร่มพระบารมีให้มีความผาสุก เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อ พ.ศ. 2559 ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า “ทรงห่วงใยโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติ” และมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ตามโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามวาระแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2562 เนื่องจากในปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลระโนด ได้มีผู้มารับบริการที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดเป็นจำนวนมาก จำนวนผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2560 มีผู้มาฉีดวัคซีน ทั้งหมก 289 ราย  คิดเป็นเงิน 188,650 บาท  ผู้ป่วยที่มารับบริการมาที่ที่สุด  ได้แก่ตำบล ระโนด รองลงมาตำบลท่าบอน  เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงได้จัดทำ โครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย ร่วมรณรงค์ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้าตำบลท่าบอน ปี 2561

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh