กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โกตาสวย ชุมชนยิ้ม ได้ด้วยการจัดการขยะ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ11 กันยายน 2561
11
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียดให้ประชาชนในชุมชนทราบ

  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการ

3.สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชนตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce)  การใช้ซ้ำ (Reuse)  และการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/ชุมชน และหาแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน/พื้นที่สาธารณะ

    2.1 จัดทำเวทีเปิดโครงการชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ให้ประชาชนในชุมชนทราบ พบว่าประชาชนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมากโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยร้อยละ 80 โดยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวคิด 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และยอมรับกับแนวทางการจัดการขยะของชุมชน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับแกนนำในชุมชน เพื่อที่จะลดปริมาณขยะในครัวเรือนและชุมชนต่อไป<br />

    2.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และที่สาธารณะ

        กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน จำนวน 308 คน การประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังอบรม จำนวน 14 ข้อ เกณฑ์การประเมินผล ดังนี้

    คะแนน 1 – 5&nbsp;       ระดับต่ำ

    คะแนน 6 – 10        ระดับปานกลาง

    คะแนน 11 – 14       ระดับสูง

จากการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนการอบรม พบว่า คะแนนของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 61.36 ระดับสูง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 25.97 และระดับต่ำ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 12.67 และหลังจากผ่านการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85.06 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับสูง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจเพิ่มขึ้น<br />

2.3 จัดทำธรรมนูญด้านการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  1. อยากให้แนะนำความรู้ การจัดการขยะ แก่ครัวเรือนทุกครัวเรือน

  2. จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดการขยะ

  3. สร้างข้อตกลง/วัฒนธรรมการจัดการขยะ  เช่น การใช้ภาชนะ

  4. จัดตั้งธนาคารออมขยะสำหรับเด็กในโรงเรียน

  5. ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตัวเองตามหลัก 3Rs

  6. สร้างแรงจูงใจในการให้รางวัลครัวเรือนที่น่าอยู่ สะอาด ปลอดขยะ

  7. สร้างสัญญาลักษณ์ บ่งชี้ (เขียว เหลือง  แดง) ครัวเรือนจำกัดขยะ ตัดสิทธ์สวัสดิการของกลุ่มที่อยู่ในชุมชน

  8. ให้ทุกครัวเรือนปฏิบัติตามข้อตกลงทุกประการ อย่างเคร่งครัด

  9. ให้คณะกรรมการ/กลไกครัวเรือนการจัดการขยะในชุมชนและรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีๆ ละ 2 ครั้ง