กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 1.1 ร้านชำ จำนวน 45 ร้าน 1.2 ร้านอาหารแผงลอย จำนวน 17 ร้าน 1.3 ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง

  2. มีการจัดการประชุมจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 1 ครั้งโดยมีสมาชิกชมรม เข้าร่วมจัดทำแผน จำนวน 30 คน

  3. ออกประเมินมาตรฐานทางกายภาพและสารปนเปื้อนใน ร้านชำ ร้านอาหารแผงลอย ตลาดนัด จำนวน 2
    ครั้ง โดยมีทีมออกกประเมินมาตรฐานครั้งละ 30 คน พบว่าการตรวจประเมินมาตรฐานสถานประกอบการทุกประเภทในปี พ.ศ.2561 ในครั้งที่ 2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในปี พ.ศ.2561 มีแนวโน้มไม่พบสารปนเปื้อนเพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ร้อนละ 98.21

  4. จัดอบรมแกนนำ อย.น้อย อสม.น้อย ในโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
    จำนวน 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 20 คน รวมเป็น 100 คน

- ก่อนอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 22 - หลังอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 85 - เกิดแกนนำ อย.น้อย อสม.น้อย ใน 5 โรงเรียนในพื้นที่ตำบลบางลาย จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 100

  1. จัดอบรมเด็กอ้วนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานเรื่องการเลือกซื้อขนมกรุบกรอบในโรงเรียนทั้ง 5 โรงเรียน จำนวน 40 คน

- ก่อนอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5
- หลังอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 92.5 - เด็กอ้วนที่เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ 17.5

  1. จัดอบรมการใช้เกษตรพอเพียงและการลดใช้สารเคมีทางการเกษตรและให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค
    จำนวน 50 คน

- ก่อนอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46
- หลังอบรมมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100

  1. มีการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 1 ครั้งมีเข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน มีการวัดความพึ่งพอใจที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับพอใจมาก ร้อยละ 90

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ
30.00 10.00 10.00

 

2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร
ตัวชี้วัด : ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ
20.00 0.00 0.00

 

3 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
20.00 10.00 10.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 310
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน 170
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร (2) ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร (3) เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมจัดทำแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคตำบลบางลาย (2) ตรวจมาตรฐานร้านค้าและสารปนเปื้อนในอาหาร (3) อบรมแกนนำอย.น้อย อสม.น้อย (4) อบรมการเลือกซื้อขนมกรุบกรอบ (5) อบรมการใช้เกษตรพอเพียง (6) ประชุมสรุปผลงาน (7) ตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh