กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์นั่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แต่หากได้รับปริมาณอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ และทำให้คุณ กลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของโรคอ้วยว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป้นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอันเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ การลดความอ้วน ง่ายๆ คือ จะต้องควบคุมปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานมาขึ้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน 2.)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. การติดตามกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถดำเนินการติดตามผลได้ครบ จำนวน 5 ครั้ง เนื่องมาจากขาดการวางแผน เพราะระยะการดำเนินโครงการมีจำกัด
  2. เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถลดค่า BMI ได้ เนื่องมาจากความชินในการบริโภคอาหาร  บริโภคาตามใจปาก และรสชาติอาหาร
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ