กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 19 มี.ค. 2561 1 มี.ค. 2561

 

1.รณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น 2.ออกกำลังกายในช่วงเวลา 17.00 – 18.00 น. เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

 

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

 

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและแกนนำ อสม. 10 พ.ค. 2561 5 ก.ค. 2561

 

  1. ประเมินก่อนการเข้าร่วมโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แบบสอบถามความรู้ เรื่องอาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์(3 อ.)และแบบสอบถามการปฎิบัติตนเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ธงโภชนาการ การเลือกรับประทานอาหารตามโซนสี
  3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.
  4. สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ
  5. สอน/แนะนำการใช้สมุดคู่มือบันทึกสุขภาพและพฤติกรรมเพื่อติดตามตนเอง

 

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป  ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

 

กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผลทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ โดย 28 พ.ค. 2561 20 ก.ค. 2561

 

  1. ประชุมถอดบทเรียนของผู้เข้าร่วมโครงการ เสนอแนวคิด ผลลัพธ์หลากหลายด้านของรายบุคคลและกิจกรรม เป็นต้น
  2. ติดตาม/ประเมินผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ1 เดือน/ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง
  3. ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการปฎิบัติตนและสอบถามทัศนคติเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์หลังเข้าร่วมโครงการ
  4. ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนของประชาชนในชุมชน

 

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล  จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก  และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

 

จัดทำรูปเล่มรายงาน 12 ก.ย. 2561 21 พ.ย. 2561

 

จัดทำรูปเล่มรายงาน

 

ได้จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์