กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

ปัญหา / อุปสรรค (ระบุ)

  1. การติดตามกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถดำเนินการติดตามผลได้ครบ จำนวน 5 ครั้ง เนื่องมาจากขาดการวางแผน เพราะระยะการดำเนินโครงการมีจำกัด

  2. เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถลดค่า BMI ได้ เนื่องมาจากความชินในการบริโภคอาหารบริโภคาตามใจปาก และรสชาติอาหาร

ข้อเสนอะแนะ
1. ควรดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ เป็นต้น

  1. สร้างมาตรการในชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : - แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
80.00 83.33

 

2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
ตัวชี้วัด : - แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีค่าBMI และรอบเอวลดลง
50.00 16.67

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์นั่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แต่หากได้รับปริมาณอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ และทำให้คุณ กลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของโรคอ้วยว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป้นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอันเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ การลดความอ้วน ง่ายๆ คือ จะต้องควบคุมปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานมาขึ้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน 2.)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh