กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัย

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 61-L5177-02-04
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลแค
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 เมษายน 2561
งบประมาณ 22,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดนเล๊าะ เดเจะหวัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 20.00
  2. ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม ขนาด 10.00
  3. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ขนาด 20.00

การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กนั้น จะสร้างความแข็งแรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคม พัฒนาสมอง การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาภาวะทางอารมณ์ โดยในวัยเด็ก ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย ๖๐นาทีต่อวัน แต่จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบัน กลุ่มเด็กมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายลดลง ขณะที่กลุ่มอื่นมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
สำหรับอุปสรรคของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยนั้น สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ที่เพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง ๔ อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ ๕๐.๐) นั่งคุย/นั่งประชุม (ร้อยละ๒๘.๔) นั่งทำงาน/นั่งเรียน (ร้อยละ ๒๗.๐) และนั่งเล่นเกม โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (ร้อยละ ๒๐.๑) เมื่อศึกษาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มเด็กและกลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen Time) อันได้แก่ การนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกมส์ รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาประเภทต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า ๑ ชั่วโมงต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้วยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เพื่อผู้คนได้มีกิจกรรมทางกายเป็นวิถีชีวิต ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายจึงนับว่าสำคัญยิ่ง
คณะกรรมการชุมชนบ้านแคเหนือ จึงจัดโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน แบ่งปันอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผัก เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน และเพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน
  3. เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. จัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและการปลูกผักทุกวัน
  3. เดินแจกผักปลอดภัย ใส่ใจผู้สูงอายุ
  4. พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ชวนกันออกกำลังกาย
  5. ประชุมสรุปและประเมินผลโครงการ
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้น
  2. การกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น
  3. พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น