กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง  และประธานอาสาสมัครหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต เขตตำบลกำแพง ประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต PCU กำแพง และเจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู รวมจำนวน 16 คน ณ ห้องประชุม PCU กำแพง โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชุม ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง วัตถุประสงค์/กิจกรรมโครงการ ให้ประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบ 2. คืนข้อมูลปัญหาสุขภาพจิต และผู้ป่วยจิตเวช ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มารับบริการที่โรงพยาบาลละงู แก่ประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต 3. อบหมายให้ประธานแต่ละหมู่แจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คน เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว และส่งต่อข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแล ป้องกันและการจัดการปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน จากการประเมินโดยชใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ในการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ของผู้เข้ารับการอบรมโดย พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าอบรมมีระดับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.90  และหลังเข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.23 จากการประเมินทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของ อสม. ที่เข้ารับการอบรม โดยการเขียนระบายความรู้สึกลงในบัตรคำรูปหัวใจโดยการตั้งคำถาม " เมื่อต้องดูแลคนไข้จิตเวช คุณรู้สึกอย่างไร " พบว่าทัศนคติของอาสาสมัครในเขตตำบลกำแพง มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย ยินดีให้ความร่วมมือในการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชโดยผู้เข้าอบรม ประเมินการติดตาม เยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม พบว่า มีการเยี่ยมบ้านติดตามทั้งหมด 12 หมู่บ้าน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ป่วยโรคจิตเภท พบว่า รับยาต่อเนื่อง ร้อยละ 85.92 และพบว่าข้อมูลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ในปี 2560 (ข้อมูลสะสมตั้งแต่ พ.ศ. 2555 - 2560 จากระบบ Hos-xp โรงพยาบาลละงู) โรคจิตมีจำนวน 134 ราย โรคซึมเศร้า 129 ราย ผู้ป่วยที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่สำเร็จ มีจำนวน 2 ราย สำเร็จ 0 ราย โรคสมาธิสั้น 2 ราย การเข้าถึงโรคสมาธิสั้นยังต่ำอยู่ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การยอมรับและการเข้าใจเรื่องโรคของผู้ปกครองยังน้อย และการเชื่อมโยงข้อมูล การบริการและการเข้าถึงการรักษาของโรค ระหว่างโรงเรียนกับหน่วยบริการสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุม กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยการประชุมย่อย จากการประชุมกลุ่ม ร่วมกันถอดบทเรียนจากการอบรมและการติดตามเยี่ยม ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต จำนวน 2 ครั้ง พบว่า กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถบอกความคาดหวังและเป้าหมายในการทำงานได้ สามารถบอกได้ว่าเมื่อพบผู้ป่วยสุขภาพจิตจะทำอย่างไร มีระบบการส่งต่ออย่างไรบ้าง สามารถออกแบบการทำงานในพื้นที่ของตนเองได้ มีองค์ความรู้ที่จะใช้ในพื้นที่การทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เพิ่มความมั่นใจในการทำงานของตนเองได้ดีขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในชุมชน
ตัวชี้วัด : กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 80 ในเขตตำบลกำแพง

 

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ตัวชี้วัด : กลุ่มอาสาสมัครหรือผู้นำชุมชนมีความรู้ และทักษะในการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 80

 

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน
ตัวชี้วัด : กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 80 ในเขตตำบลกำแพง

 

4 เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชนและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยแกนนำสุขภาพจิตในชุมชน
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเขตตำบลกำแพง อ.ละงู ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในชุมชน (2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม (3) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน (4) เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชนและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยแกนนำสุขภาพจิตในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh