กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักเรียนครู บุคคลากรและชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจและแยกประเภทของขยะรีไซเคิล การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับขยะแต่ละประเภท
ตัวชี้วัด : นักเรียน ครู บุคคลากรและชุมชนในบริเวณรอบโรงเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการและแยกประเภทของขยะรีไซเคิลการกำจัดขยะแต่ละประเภท
0.00 0.00

 

2 เพื่อให้มีคณะทำงานในการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : มีคณะทำงานเรื่องขยะจำนวน 30 คน และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการและการทำงานเป็นหมู่คณะ ร้อยละ 80
0.00

 

3 เพื่อจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน
ตัวชี้วัด : มีที่จัดตั้งธนาคารขยะและมีที่จัดเก็บขยะที่คัดแยกแล้ว จำนวน 1 แห่ง
0.00

 

4 เพื่อจัดทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารและวัชพืช
ตัวชี้วัด : นักเรียนจัดทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารและวัชพืช
0.00

 

5 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรได้บริโภคผักที่มีคุณภาพไม่มีสารพิษตกค้างเกิดความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
ตัวชี้วัด : นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษและมีสุขภาพกาย/จิตที่ดี ร้อยละ 85
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 141
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 141
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จัดการศึกษาให้กับผู้เรียน หากโรงเรียนมีสภาพสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์ที่ดีจะช่วยชักนำจูงใจให้ผู้เรียนอยากมาเรียน รักโรงเรียน ทำให้การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการสังเกตสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ทั้งอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ยังอยู่ในสภาพไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และที่สำคัญขยะเป็นปัญหาใหญ่ของโรงเรียน เพราะขยะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน สาเหตุหลักเกิดจากการแยกประเภทขยะไม่ถูกต้อง ทำให้ขยะมีการตกค้าง เช่น บริเวณอาคารเรียน โรงอาหาร และหอพักนักเรียนสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ ในบางครั้งมีการเผาขยะในโรงเรียน และชุมชนโดยรอบ ทำให้ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของนักเรียนครูและชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมต้องอาศัยกระบวนการสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมและสามารถแก้ปัญหาขยะในโรงเรียน   ดังนั้นทางโรงเรียนจึงเห็นความสำคัญในการสร้างสุขภาวะที่ดีที่ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการ
จัดการขยะ มูลฝอย ทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน และสามารถเชื่อมโยงไปยังชุมชนใกล้เคียงในการจัดการคัดแยกขยะได้อีกด้วย จากการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้จากภายนอก ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลโคกม่วงและชาวบ้านในชุมชนได้ให้ความรู้เรื่อง แนะนำเรื่องการจัดการขยะ การทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ทำให้คณะครูนักเรียน-และชุมชนใกล้เคียง ได้รับความรู้ความเข้าใจประเภทของขยะรีไซเคิล การคัดแยกและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี สามารถนำความรู้จากการศึกษาดูงาน โดยนำความรู้และวิธีการต่างๆมาประยุกต์ใช้ในจัดการกับขยะที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่  โดยทำตะแกรงคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยชีวภาพ และนำภาชนะที่เหลือใช้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh