กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ในการจัดทำโครงการดังกล่าว ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน36 คน คิดเป็นร้อยละ 120 และจากการประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง โดยการประเมินความรู้ก่อนการอบรมให้ความรู้ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 36 คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ระดับปานกลางจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 55.56 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ระดับดี 16 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44 ประเมินความรู้หลังการอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 36 คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ระดับปานกลาง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 กลุ่มป้าหมายมีความรู้ระดับดี จำนวน 10 คิดเป็นร้อยละ 27.78 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ระดับดีมาก จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ (1)
2.นวัตกรรมไล่ยุงและกระปุกหอมไล่ยุงสามารถไล่ยุงได้ โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการใช้นวัตกรรมตุ๊กตาหอมไล่ยุงและกระปุกหอมไล่ยุง กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 36 คน กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจระดับปานกลาง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 41.67 กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับดี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33 และผู้เข้าร่วมการอบรมอบรมมีความประทับใจในการใช้ตุ๊กตาหอมไล่ยุงซึ่งมีกลิ่นหอมสามารถไล่ยุงได้ดี สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ (2) 3. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการประเมินการมีส่วนร่วมของประชากรในชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลลูกน้ำยุงลายและมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ในชุมชน โดยมีมาตรการในการปฏิบัติตาม 5 ป. 1ข.สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ (3)

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และวิธีการป้องที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และวิธีการป้องที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อป้องกันยุงลายโดยใช้นวัตกรรมตุ๊กตาไล่ยุงและกระปุกหอมไล่ยุง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมตุ๊กตาไล่ยุงและกระปุกหอมไล่ยุง
0.00 0.00

 

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 70
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 36
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5 9
กลุ่มวัยทำงาน 25 27
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในเดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื่อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ด้วยสาเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จาการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยการใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบ พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามหลัก 5ป. 2ข. ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน และมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการนำนวัตกรรมตุ๊กตาไล่ยุง กระปุกหอมไล่ยุง เพื่อช่วยกำจัดและไล่ยุงภายในครัวเรือน ชุมชนวัดดุลยารามจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนวัดดุลยาราม ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกตลอดไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh