กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ส่วนที่ 3: แบบรายงานผลการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ(สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ลงรายละเอียดเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงาน)

ชื่อแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (โรงเรียนพ่อ แม่) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์

  1. ผลการดำเนินงาน

ผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 100

๑.๑ วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่อง การแปรงฟัน พัฒนาการเด็กโภชนาการและโรคติดต่อโดยการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ โดยใช้เกณฑ์แปลผลดังนี้

  1. ระดับคะแนน 9-10 แปลผลว่า มากที่สุด
  2. ระดับคะแนน 7-8 แปลผลว่า มาก
  3. ระดับคะแนน 5-6  แปลผลว่า ปานกลาง
  4. ระดับคะแนน 3-4 แปลผลว่า น้อย
  5. ระดับคะแนน 1-2 แปลผลว่า น้อยที่สุด ตารางการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม การแปลผล ทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ มากที่สุด 0 0 58 38.92 มาก 6 4.02 56 37.58 ปานกลาง 67 44.96 30 20.13 น้อย 60 40.26 5 3.35 น้อยที่สุด 15 10.06 0 0 รวม 149 100 149 100

    จากตารางการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนความรู้อยู่ในระดับมาก จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.02 ระดับปานกลาง จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ44.96 ระดับน้อยจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ40.26 ระดับน้อยที่สุดจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ10.06หลังการอบรม ระดับมากที่สุด จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ38.92ระดับมาก จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 4.02 ระดับปานกลาง จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 44.96 ระดับน้อย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 40.26


    -2- ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 3 2.01 10 28 18.79 7 3 2.01 9 30 20.13 6 60 40.26 8 39 26.17 5 7 4.69 7 17 11.40 4 32 21.47 6 15 10.06 3 28 18.79 5 15 10.06 2 8 5.36 4 4 2.68 1 7 4.69 3 1 0.67
    จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนได้คะแนนสูงสุดที่ 8 จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ2.01รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.01 คะแนนน้อยที่สุด 1 คะแนน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ4.69 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 6 คะแนน จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ40.26 หลังการอบรมผู้ปกครองนักเรียนได้คะแนนสูงสุดที่ 10 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 18.79รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 20.13คะแนนน้อยที่สุด 1 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.67และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 8 คะแนน จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 26.17 นอกจากนี้การประเมินความรู้ก่อน-หลัง แล้ว ผู้ปกครองนักเรียนได้แบ่งกลุ่มลงมือการปฏิบัติในเรื่องการแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ เช่นการแปรงฟันให้ถูกวิธี การย้อมสีฟัน  การประเมินพัฒนาการเด็กตามแบบประเมินคู่มือเฝ้าระวังและการสาธิตเมนูอาหารบำรุงสมองเด็กปฐมวัย และการสังเกตอาการเบื้องต้นและการรักษาโรคติดต่อ ครบถ้วนทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้การแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อคิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1

1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย การวัดและการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้ปกครองจะได้รู้ล่วงหน้าหากเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ และผู้ปกครองจะได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการตามวัย หากผู้ปกครองปล่อยไว้ไม่สนใจการวัดและการประเมินพัฒนาการเด็กก็อาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ และผู้ปกครองอาจไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีการวัดพัฒนาการของเด็ก จะทำให้ทราบถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของเด็กเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนและส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมตรงตามความต้องการของเด็ก การวัดพัฒนาการของเด็กนั้นต้องรวมเอา


-3-

ทุกๆกิจกรรมที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงและความ ต้องการของเด็กการประเมินพัฒนาการของเด็ก จัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบและวินิจฉัยถึงความล่าช้าของพัฒนาการ และเพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการให้ความช่วยเหลือเด็ก เด็กที่ได้รับการสงสัยว่ามีพัฒนาการที่ล่าช้าจะ ได้รับการประเมินอย่างละเอียด การช่วย เหลือของผู้ปกครองในขั้นแรกนั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เข้าถึงการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง 1.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการคักเลือกอาหารและเตรียมอาหารให้กับเด็กถูกต้องตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกในวัยระหว่าง 1-6 ปีหรือวัยก่อนเรียน เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่และหลากหลาย อาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ และอย่างลืมให้เด็กดื่มนมวันละ 2-3 แก้วด้วย     โภชนาการที่เหมาะสมนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เพราะเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกายและสมองโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมองเป็นไปอย่างรวดเร็ว อาหารสำหรับเด็ก จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้ และระยะต่อไป การขาดอาหารในระยะนี้จะส่งผลให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลง การเจริญเติบโตชะงักทำให้ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และติดเชื้อง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูงผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารอย่างถูกต้องและเพียงพอกับความต้องการตามวัยด้วย
1.4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคติดต่อชนิดต่างๆและสามารถป้องกันการเกิดโรค สำหรับพัฒนาการที่ดีในเด็กปฐมวัยได้ การป้องกันโรคที่ได้ผลดีและคุ้มค่าที่สุดคือการป้องกันในระยะก่อนได้รับเชื้อได้แก่การส่งเสริมสุขภาพการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเด็กต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ทั้ง 3 มื้อมีน้ำดื่มและน้ำใช้ที่สะอาดเพียงพอได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคลเน้นความสะอาดของที่อยู่อาศัยเครื่องใช้ส่วนตัวสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะสะอาดไม่แออัดอากาศถ่ายเทสะดวกและมีแสงแดดส่องถึงองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจเหมาะสมตามวัยเมื่อเกิดโรคขึ้นต้องป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของโรคนอกจากนี้ยังสามารถลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้โดยการตรวจคัดกรองแยกเด็กป่วยวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการ ดูแลรักษาเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพของเด็กในช่วงปฐมวัยในเรื่องการแปรงฟันพัฒนาการเด็กโภชนาการและโรคติดต่อ
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90
0.00 0.00

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : แบบประเมินความรู้จากการอบรม
0.00

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการคักเลือกอาหารและเตรียมอาหารให้กับเด็กถูกต้องตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้
ตัวชี้วัด : แบบประเมินความรู้จากการอบรม
0.00

 

4 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคติดต่อชนิดต่างๆและสามารถป้องกันการเกิดโรค สำหรับพัฒนาการที่ดีในเด็กปฐมวัยได้
ตัวชี้วัด : แบบประเมินความรู้จากการอบรม
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 149 149
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 149 149
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพของเด็กในช่วงปฐมวัยในเรื่องการแปรงฟันพัฒนาการเด็กโภชนาการและโรคติดต่อ (2) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (3) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการคักเลือกอาหารและเตรียมอาหารให้กับเด็กถูกต้องตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ (4) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคติดต่อชนิดต่างๆและสามารถป้องกันการเกิดโรค สำหรับพัฒนาการที่ดีในเด็กปฐมวัยได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh