กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมอบรมให้ความรู้

กิจกรรม : กิจกรรมอบรมให้ความรู้
วันที่ 09/07/2018 - 31/08/2018
งบประมาณที่ตั้งไว้ 10,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 50 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้ , อสม.
1.3 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ และพิจารณาจัดทำหลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง
1.4 เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมจัดทำหลักสูตร เป็นทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง
1.5 ประเมินผลการใช้หลักสูตร สรุปผลการดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง
ขั้นเตรียมการ
1. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงดำเนินการครั้งละประมาณ 50 คน ดำเนินการแบบเข้าค่ายไป – กลับ ครั้งที่ 1 จำนวน 1 วัน ครั้งที่ 2 จำนวนครั้งละ 1 วัน ห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 1 เดือน
1. ผู้รับผิดชอบโครงการ / คณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุม ประสานวิทยาการ ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังของพื้นที่

2. ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 2 ครั้ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง (รายละเอียดตามภาคผนวก)
3. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค

กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , อสม.
1.3 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ และพิจารณาจัดทำหลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง
1.4 เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมจัดทำหลักสูตร เป็นทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง
1.5 ประเมินผลการใช้หลักสูตร สรุปผลการดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง
ขั้นเตรียมการ
1. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงดำเนินการครั้งละประมาณ 50 คน ดำเนินการแบบเข้าค่ายไป – กลับ ครั้งที่ 1 จำนวน 1 วัน ครั้งที่ 2 จำนวนครั้งละ 1 วัน ห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 1 เดือน
1. ผู้รับผิดชอบโครงการ / คณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุม ประสานวิทยาการ ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังของพื้นที่

2. ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 2 ครั้ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง (รายละเอียดตามภาคผนวก)
3. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค