กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการ
๑.  นักเรียนโรงเรียนเจริญศาสตร์  จำนวน  ๑๙๐ คน
๒.  วิทยากร จำนวน    ๔  คน

การนำความรู้ที่ได้จากการบรรยาย ของวิทยากร กิจกรรมที่ ๑  จัดอบรมความรู้ให้แก่นักเรียนโดยจัดฐานการเรียนรู้ ๗ ฐาน ได้แก่ ๑)ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการ  ตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น
ท้องไม่พร้อม ปัญหาหนักใจของวัยรุ่นท้องก่อนวัยอันควรสังคมไทยในปัจจุบันนี้ เรื่องปัญหาเด็กที่ท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีสูงมาก เพราะการคบเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ปกติของวัยรุ่น เด็กบางคนมีอิสระในการใช้ชีวิต สามารถทำอะไรได้ตามใจตัวเองมากขึ้น และเรื่องเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าไปมากทำให้การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเพื่อนต่างเพศเป็นเรื่องที่ง่ายมาก การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คือการตั้งครรภ์ที่ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายยังไม่พร้อม  ในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายทำให้เกิดความพร้อม ทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก และส่วนมากยังเป็นนักเรียนอยู่ เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ อาจจะต้องออกจากโรงเรียน บางคนตัดสินใจด้วยการทำแท้งซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดทางศีลธรรมอย่างมาก การทำแท้งจะส่งผลกระทบจิตใจต่อผู้ทำและยังส่งผลเสียต่อด้านร่างกายอีกด้วย สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นไทยท้องไม่พร้อม หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีหลายสาเหตุดังนี้ • ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีและขาดการเอาใจใส่จากพ่อและแม่ • ขาดการชี้แนะเรื่องเพศสัมพันธ์จากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู ทำให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปิด • เด็กใช้เวลาส่วนมากหมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเกินไป เช่น การใช้งานอินเตอร์เน็ต การดูหนังสือที่ไม่เหมาะสม • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางด้านอารมณ์ของวัยรุ่น • ไม่มีความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง • สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น การอยู่หอพักคนเดียว หรือ การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม • สื่อต่างๆที่ในปัจจุบันเข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น เช่น สื่อลามก หนังสือ ซีดี • การอยู่กันสองต่อสองในที่ลับตาคน • การใช้สารเสพติด หรือ พวกเครื่องดื่มมึนเมาจนทำให้ขาดสติ • การเลียนแบบวัฒนธรรมที่ผิดๆจากต่างประเทศ เช่น การอยู่กินกันก่อน การมีเพศสัมพันธ์แบบเก็บแต้ม หรือการลองมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน • คลั่งวัตถุนิยมจนต้องเอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ได้สิ่งของตามที่ต้องการ เช่น ยอมนอนกับผู้ชายเพื่อจะได้เงิน ผลที่เกิดขึ้นจากการท้องไม่พร้อม หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีดังนี้ • เสียการเรียน เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจิตใจของฝ่ายหญิงที่ยังไม่พร้อมจะมีลูก ก็จะไม่มีความต้องการเรียนรู้สิ่งใดๆเลย จนในที่สุดจะเป็นปัญหาของการขาดเรียน โดดเรียน บางคนต้องลาออกจากทางโรงเรียน ปัญหาตรงนี้จะกระทบกับฝ่ายหญิงเป็นส่วนมาก ฝ่ายชายอาจจะยังเรียนต่อได้ตามปกติ • อาจเกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้จักการป้องกันเมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคจากอีกฝ่ายจึงเป็นเรื่องง่าย เช่น กามโรค โรคเอดส์ ในส่วนของโรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงมากเพราะยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และถ้าหากฝ่ายหญิงตั้งท้องยังส่งผลให้เด็กในครรภ์เป็นโรคไปด้วย • สร้างความทุกข์ใจให้กับพ่อแม่ เพราะคนเป็นพ่อแม่ย่อมต้องการเห็นอนาคตที่สดใสของลูก แต่เมื่อลูกท้องไม่พร้อมหรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรจึงเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านทุกข์ใจมากเลยนะคะ • เกิดความขัดแย้งในครอบครัว เกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะถ้าหากท้องไม่พร้อม สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะไม่พร้อมเช่นกัน • เกิดปัญหาหย่าร้างสูงมาก เพราะเด็กที่ท้องไม่พร้อม ส่วนมากยังอยู่ในช่วงวัยเรียนหนังสือยังขาดความรับผิดชอบอยู่ และบางคู่ก็ไม่ได้ตั้งครรภ์เพราะความรัก แต่เป็นเพียงการอยากลองจึงทำให้ยังไม่พร้อมในการมีครอบครัว การแก้ไขปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อมสามารถทำได้จากหลายทาง เช่น ครอบครัวควรให้ความรักและเอาใจใสบุตรหลานให้มาก ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่กับตัวเองมากเกินไป สถาบันการศึกษาก็มีส่วนสำคัญมากเพราะเป็นที่ๆ เด็กใช้เวลาอยู่มากพอๆ กับอยู่บ้าน ควรจะสอนหรือแนะนำการใช้ชีวิตและวิธีการมีเพศสัมพันธ์รวมไปถึงการป้องกันอย่างละเอียด ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันก็จะสามารถป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อมของเด็กวัยรุ่นได้มากเลยค่ะ ๒)ฐานเพศศึกษา เพศศึกษา เป็นการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ เพศหญิง และ เพศชาย เนื้อหาว่าด้วยสรีระร่างกายของแต่ละเพศ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยเจริญพันธุ์ เนื้อหาจะรวมถึงการปฏิบัติตนเพื่อการดูแลร่างกายตัวเอง และการปฏิบัติตัวต่อเพศตรงข้าม ชีวิตคู่ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด กามโรค และ เนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเพศ เพศศึกษาเรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรรู้และเปิดใจในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างและให้อิสระในเรื่องเพศมากขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทว่าในเรื่องของเพศศึกษากลับไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์การข่มขืน เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาต่าง ๆ สามารถลดลงได้ หากได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศ ซึ่งสถาบันครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เด็กมีความเข้าใจที่ดีมากขึ้น ผู้ปกครองจึงควรทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ให้ความรู้ รวมทั้งควรเปิดใจในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องน่าอาย หรือเป็นเรื่องต้องห้าม และกล้าที่จะพูดคุยเรื่องนี้อย่างเปิดเผยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง หากยังไม่ทราบว่าจะเปิดใจคุยกับเด็กอย่างไร และควรจะพูดเรื่องเหล่านี้ตอนไหน นี่คือข้อแนะนำดี ๆ เพื่อการเริ่มต้นอย่างถูกต้อง ควรคุยกับลูกเรื่องเพศอย่างไร ? ในกรณีที่เด็กไม่กล้าเริ่มต้นคุยกับผู้ปกครอง เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ควรเป็นฝ่ายเริ่มต้นบทสนทนาเรื่องนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองเปิดใจพร้อมจะให้คำปรึกษาแก่บุตรหลาน ซึ่งการพูดคุยกับบุตรหลานควรคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้  ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ การพูดคุยเรื่องเพศไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นกันอย่างเป็นทางการเสมอไป แต่สามารถใช้โอกาสต่าง ๆ ในการพูดคุยเริ่มต้น อาทิ ขณะดูโทรทัศน์ หรือขณะที่กำลังเดินทาง เป็นต้น  พูดความจริง ในหลาย ๆ ครั้ง เด็กอาจจะนำเรื่องเกี่ยวกับเพศบางอย่างมาปรึกษา ซึ่งผู้ปกครองอาจจะไม่รู้อย่างแน่ชัด หรือไม่แน่ใจในคำตอบ สิ่งที่ดีที่สุดคือควรบอกกับเด็กตรง ๆ ว่าไม่รู้ แต่ไม่ควรจบบทสนทนาเพียงเท่านั้น ควรบอกกับเด็กว่า จะพยายามหาคำตอบมาให้หรือชวนหาข้อมูลคำตอบด้วยกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าผู้ปกครองใส่ใจในเรื่องที่ซักถาม และกล้าที่จะคุยอีกในครั้งต่อไป  พูดอย่างตรงไปตรงมา เรื่องเพศเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่ก็ไม่ควรพูดอ้อมค้อมเกินไป เพราะการพูดอ้อมค้อมอาจทำให้เด็กเข้าใจผิด และปลูกฝังความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ ทางที่ดีที่สุดคือ พูดอย่างตรงไปตรงมา และชัดเจนที่สุด  ตระหนักถึงมุมมองของเด็ก เรื่องเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ดังนั้นผู้ใหญ่ควรตระหนักถึงมุมมองของเด็ก รับฟังและทำความเข้าใจกับความคิดของบุตรหลาน และควรให้กำลังใจ เพื่อให้เด็กมีความกล้าที่จะปรึกษาในครั้งต่อ ๆ ไป  อย่าให้แต่ความรู้ที่หาได้ในตำราเรียน ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะได้รับการสอนเรื่องเพศศึกษาพื้นฐานมาจากที่โรงเรียนแล้ว แต่การที่เด็กถามผู้ปกครองนั้นแปลว่าพวกเขาต้องการรู้มากกว่าแค่ในตำราเรียน ดังนั้นผู้ปกครองควรสอดแทรก ความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยมเข้าไปด้วย เพื่อให้เด็กเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น และสามารถคิดได้เองว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร  เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็กรู้สึกวางใจและสบายใจที่จะคุยเรื่องเพศกับผู้ปกครองก็คือการเปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามและแสดงความเห็น ไม่ควรมุ่งที่จะสอนโดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดในสิ่งที่คิด และควรลงท้ายเสมอว่า คุณรู้สึกยินดีที่ได้ให้คำปรึกษา และพร้อมจะให้คำปรึกษาเสมอเมื่อเด็กต้องการ นอกจากนี้ ในกรณีที่บุตรหลานมีแฟนหรือคนรัก ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำในเรื่องการระมัดระวังตัวและการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เด็กถูกล่อลวงไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การเสพยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อม เป็นต้น ที่สำคัญการพูดคุยเรื่องเพศ ไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นทางการเกินไป แต่ควรพูดคุยให้เป็นเรื่องปกติ เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยด้วย คำถามแบบไหน ผู้ปกครองควรรับมืออย่างไร ? นอกจากความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาที่วัยรุ่นมักถาม เช่น เรื่องความรู้สึก ความสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแล้ว อาจมีบางคำถามที่ผู้ปกครองควรเตรียมรับมือ เพราะหากให้คำตอบอย่างผิด ๆ หรือไม่ชัดเจนเท่าที่ควร อาจนำมาสู่ปัญหาในภายหลังได้ ตัวอย่างคำถามที่อาจพบได้ มีดังนี้ คำถามที่ ๑: เมื่อไหร่ที่รู้ว่าตัวเองพร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ ? คำตอบที่ผู้ปกครองให้กับเด็กนั้นอาจส่งผลต่อความเข้าใจในเรื่องสัมพันธ์ได้ไม่น้อย ดังนั้นแทนที่ผู้ปกครองห้ามไม่ให้เด็กคิดถึงเรื่องนี้ ก็ควรเปลี่ยนมาอธิบายให้เด็กเข้าใจผลที่อาจจะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อีกทั้งยังควรแนะนำว่าไม่ควรรีบร้อนกับเรื่องเหล่านี้ และอธิบายว่ายังมีวิธีอีกมากมายที่สามารถแสดงความรู้สึก ไม่ได้มีแค่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์เท่านั้น คำถามที่ ๒: หากคนรักอยากมีเพศสัมพันธ์ด้วย แต่ตัวเด็กไม่พร้อมควรทำอย่างไร ? เมื่อบุตรหลานอยู่ในช่วงกำลังมีแฟน คำถามนี้อาจเกิดขึ้นได้ โดยผู้ปกครองควรแนะนำว่าเพศสัมพันธ์ต้องเกิดขึ้นโดยสมัครใจ ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความหวาดกลัว หรือเพื่อผูกมัด และการใช้กำลังทุกประเภทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากความรัก แต่เป็นการข่มขืน อีกทั้งควรแนะนำให้เด็กอยู่ให้ห่างการใช้ยาเสพติด หรือเครื่องดื่มมึนเมาไม่ว่าจะในกรณีใด ๆ ก็ตาม เพราะนอกจากจะทำให้ขาดสติแล้ว ยังทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจและนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม หรือการถูกข่มขืน คำถามที่ ๓: มีความรู้สึกว่าตนเองอาจเป็นเพศที่สาม ควรทำอย่างไร ? มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่คิดว่าตนเองอาจเป็นเพศที่สาม และเกิดความสับสน อาย และไม่กล้าผู้ความจริงกับพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ควรชี้นำว่าเด็กเป็นเพศใด แต่ควรให้เด็กสำรวจตัวเองว่าสนใจในเพศไหน ที่สำคัญผู้ปกครองควรแสดงออกว่า ผู้ปกครองยังคงรักและสนับสนุนเขาในทุก ๆ เรื่องไม่ว่าเขาจะมีความสนใจทางเพศเป็นอย่างไร เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจมากขึ้น กล้าเปิดเผยมากขึ้น และไม่กลัวว่าตัวเองจะกลายเป็นปัญหาของครอบครัว จะเห็นได้ว่าการพูดคุยเรื่องเพศศึกษากับบุตรหลานไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่ทั้ง นี้ก็ควรเริ่มต้นในวาระและโอกาสที่ถูกต้อง และค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้วัยรุ่นนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติต่อเรื่องเพศอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคม และทำให้อนาคตของชาติพัฒนาไปในทางที่ดี ๓)ฐานทักษะชีวิต
ทักษะชีวิต คือ คือทักษะทางสังคมจิตวิทยา ที่จะช่วยให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุขและรับมือกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ พ่อแม่สามารถสร้างเสริมทักษะชีวิตให้ลูกตั้ง แต่เด็ก ด้วยความรักความอบอุ่นและให้ความไว้วางใจ มีการสื่อสารที่ดีต่อกัน ต่างคนต่างไว้วางใจปรึกษาหารือ
มีการยอมรับฟังความคิดเห็น มั่นคง มีหลักการ มีเหตุผล มีความยืดหยุ่น ควบคุมตัวเองได้ดี ทั้งอารมณ์และ พฤติกรรม ยอมรับความสามารถของเด็ก เข้าใจและสนับสนุนในความสามารถด้านอื่นนๆ ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถเชิงสังคมจิตวิทยา ที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญ สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และมีความสามารถที่จะปรับตัวได้ในอนาคต
ทักษะชีวิตจะมีส่วนช่วยให้วัยรุ่น  สามารถนำความรู้ในเรื่องต่างๆ มาเชื่อมโยงกับทัศนคติ ผ่านการคิด วิเคราะห์ไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้น และตัดสินใจปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสมได้ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในเรื่อง ของการดูแลสุขภาพ การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ยาเสพติด การท้องไม่พร้อม ความปลอดภัย  คุณธรรม จริยธรรม ฯลฯ ทำให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  และรับมือกับปัญหาและความเปลี่ยน แปลงต่างๆได้ ทักษะชีวิตที่สำคัญ ๑๐ ประการ ได้แก่ • การตัดสินใจ - สามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้อย่างรอบ คอบ • การแก้ปัญหา - สามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ
ไม่เกิดความเครียด
• การคิดวิเคราะห์ – สามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล ข่าวสาร ปัญหาและ สถานการณ์ต่างๆ รอบตัวได้
• การคิดสร้างสรรค์ – ช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยคิดสร้างสรรค์ เพื่อ ค้นหาทางเลือกต่าง ๆ และผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างเหมาะสม
• การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ – เป็นความสามารถในการใช้คำพูด และท่าทางเพื่อ แสดงออกถึงความคิดและความรู้สึกของตนเอง เช่น การแสดงความคิดเห็น ความต้องการ ความชื่นชม การ ขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
• การสร้างสัมพันธภาพ – สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล และรักษา ความสัมพันธ์นั้นไว้ได้
• การตระหนักรู้ในตน - รู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความ ต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้รู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียด หรือสถานการณ์ต่างๆ
• ความเห็นใจผู้อื่น - เข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้าน ความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ เข้าใจความรู้สึก และยอมรับ บุคคลอื่นที่ต่างจากตนเอง
• การจัดการกับอารมณ์ต่างๆ - รับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อ การแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีจัดการกับอารมณ์โกรธหรือโศกเศร้าที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้
• การจัดการกับความเครียด - รับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความ เครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด
• พ่อแม่จะช่วยเสริมทักษะชีวิตให้ลูกได้ตั้งแต่เล็ก จนเป็นวัยรุ่น โดย • พ่อแม่ลูกมอบความรักความอบอุ่นและให้ความไว้วางใจ ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี ต่อกัน ทำให้เกิดความพร้อมในการรับฟัง เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน o มีการสื่อสารที่ดีต่อกัน ต่างคนต่างไว้วางใจ ปรึกษาหารือ หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ
ที่ประสบมาให้ฟัง มีการยอมรับฟังความคิดเห็นที่ทั้งพ่อแม่และลูกจะแสดงความคิดเห็นคล้อยตามหรือขัดแย้งอันดีได้ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง o พ่อแม่ต้องมีความมั่นคง อดทน มีหลักการด้วยมาตรฐานเดียวกันทั้งพ่อและแม่
มีความยืดหยุ่นมีเหตุผลที่ดี                     o พ่อแม่ควบคุมตัวเองได้ดี ทั้งอารมณ์และพฤติกรรม                     o พ่อแม่มีลักษณะที่ยอมรับความสามารถของเด็ก เข้าใจและสนับสนุนในความ สามารถด้านอื่นๆ ๔)ฐานการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัว หมายถึง ปัจจัยที่คู่สมรสอาจพิจารณาในความสัมพันธ์แบบผูกมัดและแต่ละปัจเจกที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ และจะมีเมื่อใด การวางแผนครอบครัวอาจเกี่ยวข้องกับการพิจารณาจำนวนบุตรและอายุที่คู่สมรสปรารถนา ประเด็นเหล่านี้ชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกอย่างสถานการณ์สมรส ฐานะการเงิน ทุพพลภาพใด ๆ ที่อาจกระทบต่อความสามารถในการมีและเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น หากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัวอาจเกี่ยวข้องกับการใช้การคุมกำเนิดและเทคนิคอื่นเพื่อควบคุมเวลาการเจริญพันธุ์ เทคนิคอื่นที่ใช้ทั่วไปมีเพศศึกษา การป้องกันและจัดการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การให้คำปรึกษาและการจัดการก่อนการเริ่มตั้งครรภ์ และการจัดการความเป็นหมัน การวางแผนครอบครัว หมายถึงการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัว เป็น เครื่องมือสำคัญในการ นำพาครอบครัวให้มีความสุขและเป็นแหล่งสร้างคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศ ชาติ เปิดโอกาสให้สามี–ภรรยาได้พัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียมกัน โดยการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการทำงานและการแสวงหาความรู้ได้ทั้งสองฝ่าย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 190
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น (2) เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต (3) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh