กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังสตรีดูแลเต้านมในชุมชนปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1480-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2561 - 17 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2561
งบประมาณ 5,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลปะเหลียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 5 6 8 9 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายของสตรีไทย มะเร็งพบมากในสตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี และพบว่าร้อยละ ๘๐ เป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้โอกาสมีชีวิตรอดน้อย ดังนั้น เพื่อลดสูญเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร ตลอดจนการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก ทำให้ต้องทำงานเชิงรุกโดยการค้นหาก้อนผิดปกติที่เต้านมในระยะเริ่มต้น การตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นการเฝ้าระวังและดูแลตนเองของสตรีที่ช่วยให้สามารถค้นพบความผิดปกติ ถ้าพบในระยะแรกของการป่วยและถ้าประชาชนสตรีได้รับความรู้ รู้จักวีธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองและมีทักษะการตรวจเต้านมได้อย่างถูกต้อง มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจเต้านมตนเองทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ก็จะเป็นการลดความรุนแรงและอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมลดลงได้

จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียนปีพ.ศ.๒๕๖๐ จำนวน ๙๑๓ รายพบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์จำนวน ๗ รายไม่พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะได้พบก้อนที่สงสัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะรักษาให้หายขาดได้ (Early detection Early Protection) การให้ความรู้แก่สตรีไทยเพื่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โรคมะเร็งเต้านมเห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมรายใหม่ได้ แกนนำสตรีต้องมีความรู้และมีทักษะในเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองและต่อเนื่อง เมื่อพบความผิดปกติของเต้านม ให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย ส่งต่อและรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มสตรี ๓๐-๗๐ ปีทั้งหมด โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อเต้านมจำลอง เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนการตรวจเต้านมให้เป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำเต้านมจำลองไปให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจในการตรวจเต้านมได้อย่างถูกต้อง ลดอัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม มีผลดีต่อภาวะสุขภาพและส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติได้

ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการรวมพลังสตรีดูแลเต้านมในชุมชนปี ๒๕๖๑ ครั้งนี้ มุ่งเน้นการคัดกรองก้อนผิดปกติที่เต้านมในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ปี ร่วมกับให้ความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้ห่างไกลมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,200.00 1 5,200.00 0.00
17 ส.ค. 61 - 17 ก.ค. 61 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 1/2 วัน 0 5,200.00 5,200.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 5,200.00 1 5,200.00 0.00

ขั้นเตรียมการ

  ๑. รับสมัครแกนนำดูแลเต้านมในชุมชน   ๒. ทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย   ๓. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดอบรม ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่๑ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 1/2 วัน (บรรยาย/ฝึกทักษะ) • ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม • ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง • แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ขั้นหลังดำเนินงาน • แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ • แบบประเมินทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

การประเมินผล ๑. แกนนำสตรีเข้าร่วมโครงการ ๒. แกนนำสตรีสามารถตรวจเต้านมเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • สตรีอายุ 30 - 70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2561 14:25 น.