กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน สรุป จากการดำเนินงานโครงการ ตามวัตถุประสงค์โครงการดังนี้ 1.1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็ก 1.2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 1.3 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการจึงได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานดังนี้
  2. มีการประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงาน จำนวน 1 วัน ร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุขในพื้นที่ ในวันที่  14 เมษายน 2560
  3. อสม.ค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าสู่ระบบฝากครรภ์โดยเร็วก่อน 12 สัปดาห์และติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ตามนัด และอสม.ติดตามเด็ก0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย
  4. ประชุมโดยทีมเครือข่ายสุขภาพเพื่อคืนข้อมูล หญิงตั้งครรภ์และติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย ครั้งที่ 1 วันที่ 5 พฤษภาคม 2560
    4 . ประชุมโดยทีมเครือข่ายสุขภาพเพื่อคืนข้อมูล หญิงตั้งครรภ์และติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย ครั้งที่ 2 วันที่ 12 พฤษภาคม 2560

  5. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ /• บรรลุตามวัตถุประสงค์ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์  เพราะ ............................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................ 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ...ทั้งหมด.........65............................................... คน

  6. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ...............10,000........... บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง ...............10,000........... บาท  คิดเป็นร้อยละ ......100.......... งบประมาณเหลือส่งคืนอบต. ...........................0........... บาท  คิดเป็นร้อยละ .............0.........
            ตามรายละเอียดดังนี้           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และหญิงวัยเจริญ             พันธุ์จำนวน 30 คนๆละ25 บาท*2 มื้อ เป็นเงิน  ...1,500............  บาท
    • ค่าอาหารกลางวันในการประชุมชี้แจงและให้ความรู้ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/อสม. และหญิงวัยเจริญพันธุ์             จำนวน 30 คนๆละ..40 บาทเป็นเงิน  ...1,200............  บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมคืนข้อมูลและเพื่อการติดตามหญิงตั้งครรภ์ เด็ก 0-5 ปีให้ได้รับ
                  วัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท*2 มื้อ * 2 วัน                     เป็นเงิน  3,500  บาท        


                - ค่าอาหารกลางวันในการประชุมคืนข้อมูลและเพื่อการติดตามหญิงตั้งครรภ์ เด็ก 0-5 ปี ให้ได้รับ
                  วัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย 35 คนๆละ 40 บาท * 2 วัน    เป็นเงิน  2,800  บาท           - ค่าวัสดุเป็นเงิน  1,000  บาท           รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 10,000 บาท
  7. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มี         /• มี ปัญหา/อุปสรรค

- ความไม่ตรงต่อเวลาของกลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนในพื้นที่เห็นปากท้องเป็นเรื่องสำคัญกว่าสุขภาพ ดังนั้นไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และสุขภาพของลูก - ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่ทำงานในประเทศดเพื่อนบ้าน ทิ้งลูกให้อยู่ตามลำพังกับปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้ดูแลส่งผลให้ขาดความตระหนักในด้านสุขภาพของเด็ก เช่น ขาดวัคซีนตามนัด ขาดการตรวจร่างกาย การชั่งน้ำหนัก การตรวจพัฒนาการ
- ผู้ปกครองเด็กไม่อยู่บ้าน - เด็ก 0 – 5 ปี อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ
- เด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร แนวทางการแก้ไข - การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ต้องหาเวลาที่ประชาชนในพื้นที่ว่างจากการทำงาน เช่น หลายคนหยุดงานในวันศุกร์ หรืออาจเป็นช่วงตอนกลางคืน และอาจจะต้องทำการอบรมจำนวนหลายๆครั้ง เป็นกลุ่มๆ - หมู่บ้านหรือชุมชนจะเกิดความเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อมีผู้นำที่มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มีความสามัคคีเป็นหนึ่ง ระหว่างผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ชมรมเป็นตัวผลักดันที่สำคัญเพื่อให้ผู้นำฝ่ายต่างๆในหมู่บ้านเกิดการขับเคลื่อน - ต้องมีการบูรณาการงาน เช่น การตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงร่วมกับจัดการอบรมอนามัยแม่และเด็ก - เครือข่ายสุขภาพ อสม.หรือทีมงานสารณสุขต้องมีบทบาท และความเสียสละในการรุกพื้นที่เพื่อบริการให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็ก
ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

 

3 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัย
ตัวชี้วัด : เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพการอนามัยแม่และเด็ก (2) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (3) เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจพัฒนาการตามวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh