กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (ลดโรค ลดเสี่ยง ความดัน ไขม้น เบาหวาน) อย่างต่อเนื่องแก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เดือนละครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน โดยใช้กลไกส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ มีความรูมีความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องการออกกำลังกาย และสามารถออกกำลังกายได้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย นำไปสู่การมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ี 1 ผู้สูงอาุยเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพลดโรค ลดเสี่ยง ความดัน ไขม้นในเลือด เบาหวาน มีความตั้งใจรับฟังความรู้และมีส่วนร่วมในการซักถามปัญหา ตอบปัญหาและร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ลดโรค ลดเสี่ยง ความดัน ไขม้นในเลือด เบาหวาน นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมปรุงเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและเมื่อปรุงเสร็จได้มีการร่วมรับประทานอาหารด้วยเมนูสุขภาพร่วมกัน เป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกันระหว่างผู้สูงอายุ 2. จกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ี 2 แก่กลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายเหมาะสมตามวัย การป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนการดูแลตนเองหรือบุคคลอื่นเมื่่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในครั้งนี้ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 108 คน พบว่า ผู้สูงอายุให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยมีส่วนร่วมในการสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย เกิดกลุ่มออกกำลังกายด้วยยางยืด ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ พบว่าผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น 3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ี 3 แก่กลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง ความรุนแรง/อันตรายของโรคภาวะแทรกซ้อนของโรค วิธีการป้องกันการเกิดโรค การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายขยับกาย สบายดี พบว่า ผูู้สงอายุมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี 4. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 แก่กลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใขมันในเลือด ด้านการรับประทานอาหาร การเช็ดตัว เทคนิคการพูดคุยการพลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ตลอดจนการดูแลรักษาความสะอาด สิ่งแวดล้อมรอบเตียงผู้ป่วย มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 101 คน พบว่า ผู้สูงอายุมีความตระหนักถึงปัญหา กลัวว่าตนเองจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง จึงมีความสนใจที่จะปฏิบัติตนไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ในส่วนของการฝึกปฏิบัติจริงโดยการเยี่ยมบ้านกรณีศึกษาในชุมชน มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 26.73 เนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทาง ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่บ้านผู้ป่วย 5. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 5 แก่กลุ่มผุ้สูงอายุเกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยวิธีโยคะ พบว่า ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายด้วยวิธีโยคะได้ 6. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 6 แกกลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยงกับการสาธิตการออกกำลังกายเพื่อลดโรค ลดเสี่ยง ประเภทต่าง ๆ อาทิ เช่น การออกกำลังกายแบบลายแดนซ์ การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง การออกกำลังกายด้วยผ้า โนราบิค บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเพื่อลดโรค ลดเสี่ยง ความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันในเลือด ด้วยการฝึกการหายใจ การเดินเร็ว ฝึกการหัวเราะ มีผู้สุงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 110 คน จากการสังเกต ซักถาม และพูดคุย พบว่า ผู้สูงอายุ มีความต้องการออกกำลังกายโดยเฉพาะการรำไม้พลอง มีความสนใจที่จะฝึกการออกกำลังกาย เกิดการรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายรำไม้พลอง 7. จกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 7 แก่กลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การแช่น้ำสมุนไพรและการฝึกสมาธิ จากการพูดคุย ซักถาม และสักเกตการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรในครัวเรือนหลากหลายชนิด เช่น ตะไคร้ มะกรูด พริก มะนาว กระเจี๊ยบ เป็นต้น และส่วนใหญ่มีอาการปวยเมื่อยข้อเข่า เมื่อได้มีการนวด และแช่สมุนไพร ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และอาการปวดเมื่อยบรรเทาลง 8. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 8 แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ด้วยการสาธิตการทำอาหารสุขภาพ และการทำอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ พร้อมมีการมีการบรรยายสรุปผลการดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพลดโรค ลดเสี่ยง ความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือด ที่ผ่านมา พบว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน นอกจากนั้นยังทำให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลดโรค ลดเสี่ยง โรคความดัน เบาหวาน ไขมัน มากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ค่าใช้จ่ายตามโครงการ ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนวิทยากร เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ชม. ๆละ 600.-  บาท  จำนวน 8 เดือน  เป็นเงิน 14,400.-  บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25.-  บาท จำนวน 8 เดือน เป็นเงิน 20,000.-  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  34,400.-  บาท  

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลดโรคลดเสี่ยง โรคความดัน ไขมัน เบาหวาน
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลดโรคลดเสี่ยง โรคความดัน ไขมัน เบาหวาน

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และสา่มารถออกกำลังกายได้ เหมาสมกับสภาพร่างกาย
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และสา่มารถออกกำลังกายได้ เหมาสมกับสภาพร่างกาย

 

3 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ
ตัวชี้วัด : สร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ

 

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

5 เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับการลดโรคลดเสี่ยง โรคความดัน ไขมัน เบาหวาน (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และสา่มารถออกกำลังกายได้ เหมาสมกับสภาพร่างกาย (3) เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ (4) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ (5) เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh