กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ และดำเนินการครบทุกกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงตัวแทนองค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และการประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน จำนวน 60 คน กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ องค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชน จำนวน 203 คน กิจกรรมที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกษาในเขตเทศบาล มีสถานศึกษาเข้าร่วมน้อยกว่าที่กำหนด คือ 8 แห่ง แต่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมมากกว่า 1,000 คน ตามที่ตั้งไว้ ซึ่งมีจำนวน 1447 คน กิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนคร สามารถดำเนินงานครบทั้ง 20 ชุมชน ที่ตั้งไว้ และมีเป้าหมายประชาชนที่เข้าร่วม 843 คน มากกว่าที่ตั้งไว้แค่ 600 คน กิจกรรมที่ 5 การจัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาภายในเขตเทศบาล จำนวน 8 แห่ง และชุมชน 20 ชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : ข้อที่ 1 ร้อยละ 20 ของประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น
20.00 21.01

 

2 ข้อที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
ตัวชี้วัด : ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
80.00 89.75

 

3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
ตัวชี้วัด : ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80
80.00 92.46

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3600 2490
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,000 1,447
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ 600
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,800 1,043
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น (2) ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (3) เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมชี้แจงตัวแทนองค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา และการประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน จำนวน 60 คน (2) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ องค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชน จำนวน 203 คน (3) การจัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน 8 แห่ง และชุมชน 20 ชุมชน ภายในเขตเทศบาล (4) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกาาในเขตเทศบาล จำนวน 10 แห่ง รวมทั้งหมด 1,447 คน (5) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยให้ความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ให้แก่ ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครจำนวน 20 ชุมชน รวมจำนวน 843 คน จากการดำเนินงานสามารถจัดโครงการเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมได้จำนวน 20 ชุมชน จากทั้งหมด 40 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 50 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล โดยการประเมิน ก่อน และหลังการอบรม ผลการประเมินก่อนการอบรม เท่ากับร้อยละ 68.74 และหลังการอบรม เท่ากับร้อยละ 89.75 จะเห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.01 และประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา เท่ากับร้อยละ 92.46 จากระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 4.62 (ความพึงพอใจมากที่สุด)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและยืดหยุ่นได้ เนื่องจากปัญหาอุปสรรคเรื่องเวลา ของทั้งสถานศึกษาและชุมชน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh