กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล ร้อยละ 100
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ ร้อยละ 90
  3. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล
  4. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจมน้ำและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาล

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ปกครองและนักเรียน ที่เข้ารับการอบรม มีความทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างน้อยละ 80
1.00

 

2 ข้อที่ 2. เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจมน้ำและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาล
ตัวชี้วัด : 2. ลดอัตราความเสี่ยงในการจมน้ำและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตทางน้ำเป็นจำนวนมาก โดยพบจำนวนผู้เสียชีวิตมาก ในเกณฑ์อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จากข้อมูลผู้เสียชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2556 ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้ว่ามีสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ได้แก่ การตกน้ำ หรือการจมน้ำ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, ม.ป.ป.) เนื่องจากผู้ประสบภัย ไม่รู้ถึงวิธีการเอาตัวรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตขึ้นในทุกปี จากปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีเกณฑ์อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เมื่อเกิดเหตุการณ์มักส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ แก่ผู้ที่รับข้อมูล ข่าวสาร บ้านนาแค หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง มีคลองที่กักเก็บน้ำในพื้นที่โดยมีเด็กและเยาวชนเล่นน้ำในคลองและที่กักเก็บน้ำเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำได้ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เพราะตั้งแต่เด็กตกลงไปในน้ำจนจมอยู่ใต้น้ำ เวลาเพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดเหตุจึงสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อตกน้ำจมน้ำแล้ว มีหลายกรณีที่พบว่า คนจมน้ำรอดชีวิตเพราะได้รับการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลที่เร็วและถูก ทางโรงเรียนมักตับ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการกู้ชีพ และช่วยชีวิตทางน้ำเบื้องต้น หมู่ที่ 2 บ้านเจ๊ะบิลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61 ขึ้น เพื่อให้เยาวชนและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติจริงในการช่วยชีวิต ผู้ประสบภัยทางน้ำขั้นพื้นฐาน สามารถช่วยชีวิตผู้อื่น และเกิดแนวทางการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและชุมชนพึ่งตนเองได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh