กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เด็กและเยาวชนในท้องที่เทศบาลได้มีส่วนร่วมในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 1. เด็กละเยาวชนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
1.00

 

2 ข้อที่ 2. เด็กและเยาวชนให้ความสนใจในการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างมีคุณค่าและห่างไกลยาเสพติด
ตัวชี้วัด : 2. เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกมีความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อสังคม
1.00

 

3 ข้อที่ 3. เกิดความรักและสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย โดยใช้กีฬาเป็นสื่อให้เกิดความใกล้ชิด สนิทสนม และความเป็นกันเอง
ตัวชี้วัด : 3. เยาวชนในกลุ่มมีความมีความรัก สามัคคี มีผลงานการเล่นกีฬาที่ดีได้
1.00

 

4 ข้อที่ 4. เด็กและเยาวชนเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ ด้านการกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตัวชี้วัด : 4. เยาวชนในกลุ่มมีทักษะการเล่นที่มีประสิทธิผล
1.00

 

5 ข้อที่ 5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาลและสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนได้
ตัวชี้วัด : 5 เยาวชนใช้เวลาโดยการเล่นกีฬา และห่างไกลยาเสพติด
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่นให้มีคุณภาพ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้น การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการกีฬา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นสื่อการพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถมีส่วนร่วม และส่งผลดีต่อการดำเนินนโยบายในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ การกีฬาสร้างความมีน้ำใจและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมกีฬา ไม่ได้เป็นเรื่องระดับท้องถิ่นเท่านั้น แต่ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาล ให้ความสำคัญรวมถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงนโยบายในด้านการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข    และสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสุขภาพ ใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาลักษณะนิสัยเยาวชนให้มีน้ำใจนักกีฬา มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกามารยาท และมีความสามัคคีอีกทั้งพัฒนานักกีฬาให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติจนสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติและสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคน โดยการจัดการทุนมนุษย์ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ รวมถึงการบูรณาการหลาย ๆ ด้านเพื่อให้สังคมอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ชมรมส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกีฬาในเยาวชน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด และนำนโยบายเทศบาล มาปฏิบัติในระดับชุมชน ด้านการส่งเสริมกีฬา เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชน ชมรมส่งเสริมการออกกำลังกาย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่เด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง ขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   1. เด็กและเยาวชนในท้องที่เทศบาลได้มีส่วนร่วมในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง   2. เด็กและเยาวชนให้ความสนใจในการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างมีคุณค่าและห่างไกลยาเสพติด   3. เกิดความรักและสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย โดยใช้กีฬาเป็นสื่อให้เกิดความใกล้ชิด สนิทสนม และความเป็นกันเอง   4. เด็กและเยาวชนเกิดการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ ด้านการกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาลและสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh