กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การประเมินผลโครงการนี้ดำเนินการประเมินแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ครอบคลุมผลงาน ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยมีตัวชี้วัดดังนี้ ตัวชี้วัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ระดับผลงาน 1.เด็กที่เข้าร่วมโครงการได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ร้อยละ 100 2.มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้งหมด 3.หลังการเข้าร่วมโครงการเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินมีภาวะโภชนาการที่สมวัยขึ้น ร้อยละ 10ประเมินจากการชั่งน้ำหนักหลังการเข้าร่วมโครงการ 4.หลังการเข้าร่วมโครงการเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินมีน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80ประเมินจากการชั่งน้ำหนักหลังการเข้าร่วมโครงการ ตัวชี้วัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ระดับผลลัพธ์ 1.ผู้ปกครองและเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับวัย 2.ผู้ปกครองและเด็กที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการดูแลสุขภาพเด็ก ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ระดับผลกระทบ 1.เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินได้รับการดูแลแบบองค์รวม ร้อยละ 80 2.เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินได้รับการดูแลจากครอบครัว ร้อยละ 100

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 200
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โรคอ้วนในเด็ก เป็นปัญหาที่สำคัญมาก เด็กอ้วนก็จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วน ก่อปัญหาความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และเกิดโรคข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร เด็กไทยอ้วนได้กี่วิธี กล่าวคือ ภาวะขาดการออกกำลังกาย การกินอาหารมาก และการกินอาหารผิดส่วน การที่เด็กไทยกินมาก และก่อให้เกิดความอ้วนได้แก่ อาหาร 3 ชนิดหลัก คือ อาหารขยะ อาหารฟาสต์ฟู้ด และผลิตภัณฑ์นม เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วนดีที่สุด คือการควบคุมปริมาณของอาหารที่รับประทาน โดยการปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง จากการประเมินภาวะโภชนาการนักเรียน ทุกภาคการศึกษาที่ผ่านมา จะพบว่ามีเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งเด็กที่อ้วนและเริ่มอ้วนมีมากกว่าร้อยละ10 (ค่ามาตรฐานของกรมอนามัยของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองไม่เกินร้อยละ 10 )ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพ และการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน กองการแพทย์ จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับวัยเรียนขึ้น เพื่อให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพและการเรียนรู้ที่ดี ปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย จากการอบรมในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา ทำการอบรมตามโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดเทศบาลฯทั้ง 4 โรงเรียน มีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูนทั้ง 4 โรงเรียนเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 206 คน จากเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้งหมด ( อ้วนและเริ่มอ้วน ) 211 คน คิดเป็นร้อยละ 97.63 จึงควรทำการอบรมทุกๆปี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh