กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลเมืองเก่า

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลเมืองเก่า
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2561
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2561 - 8 มิถุนายน 2561
งบประมาณ 40,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารี คะสุระ นางวงเดือน นีวงษ์ นางเสมอ นีวงษ์ นางวันเพ็ญ นพเทา นางปราณี จิตรประเสริฐ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ขนาด 70.00
  2. ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ ขนาด 50.00
  3. ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ขนาด 50.00

ผลการสุ่มตรวจอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด พบว่าอาหารปลอดภัยจากสารบอแรกซ์ ร้อยละ ๑๐๐ สารฟอกขาว ร้อยละ ๑๐๐ สารกันเชื้อรา ร้อยละ ๙๙.๖๒ สารฟอร์มาลีน ร้อยละ ๙๖.๑๑ ยาฆ่าแมลง ร้อยละ ๙๗.๖๘ และน้ำมันทอดซ้ำ ร้อยละ ๘๙.๒๙ เมื่อเทียบผลงานกับระดับเขตตรวจราชการที่๖ อาหารปลอดภัยจากสารเคมีร้อยละ ๙๖ ชมรม อสม. ร่วมกับ รพ.สต.จึงได้ทำโครงการเพื่อการเตรียมพร้อมทั้งด้านวิชาการ แนวทางปฏิบัติการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้และสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในพื้นที่อย่างมีคุณภาพ
  2. ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร
  3. เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
  4. เพิ่มครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. พัฒนาสถานประอบการผลิต ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
  2. ให้ความรู้สมาชิกกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค/อย.น้อยในโรงเรียนเกี่ยวกับการตรวจฉลากอาหาร ภาชนะบรรจุ
วิธีดำเนินการ

เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่วางจำหน่ายในพื้นที่ ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่วางจำหน่ายภายในตำบลได้มาตรฐานและปลอดภัย 2.สถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนฯพัฒนาสถานที่ผลิตได้มาตรฐาน 3.มีภาคีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในตำบลเมืองเก่า 4.สถานศึกษามีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน 5.มีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่วางจำหน่ายในพื้นที่